วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร”

เรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร”

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร” ครั้งนี้ ผู้ศึกษาประยุกต์ใช้แบบจำลองของ J. Hayes and P. Hyde เป็นกรอบการศึกษาโดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์การศึกษา ได้แก่ ประการแรก คือ ศึกษาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงองค์กรอันเกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์กรอันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ประการที่สอง คือ ศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และประการที่สาม คือ ศึกษากิจกรรมการสื่อสารกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์เป็นดังนี้
ข้อสรุปที่ 1 พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายในองค์กร คือ ความล้มเหลวของกลยุทธ์องค์กรเป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์องค์กรแบบเดิม เนื่องจากประสบปัญหา ขนาดของตลาด คู่แข่ง การบริหารงานที่ผิดพลาด ทำให้ผลประกอบการขององค์กรขาดทุนและนำมาสู่การเปลี่ยนผู้นำองค์กร ในขณะที่ปัจจัยภายนอกองค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยีในการศึกษานี้เป็นเพียงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคซึ่งเป็นปัจจัยเสริมที่มีผลให้กลยุทธ์พลาดไปจากเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ขณะที่ปัจจัยด้านการเมืองไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร
ข้อสรุปที่ 2 การวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปกลยุทธ์ไปปฏิบัติได้กำหนดกรอบการสื่อสารเฉพาะการสื่อสารภายในองค์กรเป็นการสื่อสารสาธารณะที่เน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าโดยการประชุมชี้แจงเป็นหลัก มีแบบแผนคล้ายการสื่อสารแบบสองจังหวะตามระดับการจัดการกลยุทธ์ในโครงสร้างองค์การซึ่งแบ่งการวางแผนออกเป็น 3 ระยะ คือ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์การและการสื่อสารเพื่อดำเนินกลยุทธ์เติบโตหลังวันประกาศใช้กลยุทธ์องค์การ พบว่าผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ความสำคัญกับการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีรูปแบบการวางแผนที่แตกต่างกันไปโดยผู้นำการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเลือกวิธีการประชุมเพราะเชื่อว่าการเห็นหน้าค่าตากันช่วยลดความเคลือบแคลงใจได้ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงบางคนเลือกการนำเสนอแบบพิเศษและสร้างบรรยากาศเชิงบวกรวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้รับสารแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ ส่วนสื่ออื่นๆ ที่ฝ่ายสื่อสารองค์กรใช้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ได้แก่ สื่ออินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ และสื่อสิ่งพิมพ์คือ วารสารภายใน
ข้อสรุปที่ 3 ศึกษากิจกรรมการสื่อสารกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร คือ การประชุมชี้แจงซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะตามระยะการวางแผนการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู และ การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์กร ซึ่งภาพรวมของการประเมินประสิทธิผลของการสื่อสารถือว่าสำเร็จในแง่ของการบรรลุเป้าหมายและขจัดปัญหาหรืออยู่ในระดับการผูกมัด กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าในรูปของการประชุมชี้แจงเป็นหลัก

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ผลสืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบในวงกว้างทุกภาคเศรษฐกิจ ทำให้กิจการมีภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เกิดจากราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงสุดในรอบหลายปี มีผลทำให้ธุรกิจไม่สามารถอยู่รอดได้มีการปิดกิจการจำนวนมาก ในขณะเดียวกันที่หลายธุรกิจสามารถปรับตัวให้สามารถอยู่รอดได้ หนทางหนึ่งในการปรับตัวของธุรกิจคือ การเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งในส่วนของความเป็นเจ้าของและการบริหารงาน โดยการร่วมทุนระหว่างประเทศ (Joint Venture) ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นมากในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อองค์กรต้องมีการปรับตัวย่อมส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานเดิมทั้งในส่วนของเนื้องานหรือกระบวนการทำงานและผลผลิต ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาภายในองค์กรตามมาในภายหลัง
โดยการศึกษาในครั้งนี้จะได้ศึกษาข้อมูลจาก บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท บางกอกแปซิฟิคสตีล จำกัด และ บริษัท THS SPRING จำกัด ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ จึงได้รับนวัตกรรมองค์ความรู้จากประเทศญี่ปุ่น ทำให้บริษัทฯ เป็นผู้ชำนาญทางด้านออกแบบแม่พิมพ์ การปั๊มชิ้นงานและขึ้นรูปชิ้นงานที่เป็นโลหะ และ งานทางด้านสปริงส์ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์และจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจากคุณลักษณะขององค์กรดังกล่าวจะเห็นว่ามีประเด็นที่จะนำไปสู่ความสำคัญในการศึกษาได้แก่ การที่บริษัทเป็นบริษัทร่วมทุนย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของโครงสร้างในการบริหารงาน อีกทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิต เนื่องจากมีสายการผลิตที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากเดิม ซึ่งทั้งสองปัจจัยดังกล่าว ผู้นำองค์กรต้องมีความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ดีและมีการสื่อสารที่ดีเพื่อให้สามารถนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปปฏิบัติได้จริง
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยจะพิจารณาทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรมักมาจาก “วัฒนธรรมองค์กร” Edgar H. Schein, (1999 : 15-20) ได้แก่ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้น (โครงสร้างและกระบวนการ) หลักการ (ปรัชญา เป้าหมายและกลยุทธ์) และระดับนัยร่วม (ค่านิยม ความเชื่อและฐานคติ) ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของ บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี 2540 จึงเป็นเหตุให้ บริษัทฯ ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรโดยร่วมทุนกับบริษัทในญี่ปุ่น โดยเป้าหมายเบื้องต้นในการกอบกู้ภาวะทางธุรกิจขององค์กรเพื่อสร้างประสิทธิภาพแก่องค์กรมากยิ่งขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ศึกษาสนใจที่จะศึกษาต่อไปว่าปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรในครั้งนี้ร่วมด้วยหรือไม่


วัตถุประสงค์

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ เพื่อศึกษาการวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร และเพื่อศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร

กรอบการศึกษา















กลยุทธ์องค์กรเป็นตัวกำหนดภาพรวมให้แก่องค์กรในการจัดกระบวนโครงสร้างและการจัดการกลยุทธ์องค์กร John L. Thompson, ( 2001 : 15.) เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ผสานและใช้ทรัพยากรขององค์กรร่วมกันในการสร้างความพึงพอใจต่อผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์การโดยเฉพาะผู้ถือหุ้นและลูกค้า ดังนั้นผู้บริหารจะต้องทราบว่าองค์กรกำลังเผชิญโอกาสและอุปสรรคใดแล้วจึงสังเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในรูปของแบบแผน (pattern) และเผยแพร่การเปลี่ยนแปลงนั้นผ่านการเรียนรู้และการปฏิบัติที่ดี ดังนั้นความสำเร็จของการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของการสื่อสารด้วย ผู้ศึกษาประยุกต์ใช้แบบจำลองของ J. Hayes and P. Hyde ( 1998 : 54-55) มาใช้เพื่ออธิบายการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศในภาวะเปลี่ยนแปลง ตามที่ J. Hayes and P. Hyde ได้เสนอขั้นตอนในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง 6 ขั้น ได้แก่ การรับรู้การเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์การ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ การตรวจวินิจฉัยสิ่งที่องค์การเป็นอยู่ในปัจจุบันและระบุสถานะในอนาคตขององค์การ การเตรียมการและการวางแผนเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ การลงมือปฏิบัติการ ทบทวนและประเมินผลการเปลี่ยนแปลง โดยผู้ศึกษาได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ซึ่งเชื่อมโยงกันตามลำดับดังนี้การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และการจัดการเชิงกลยุทธ์ 2.การวางแผนการสื่อสารการเปลี่ยนแปลง 3.กิจกรรมการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการประเมินประสิทธิผล

ระเบียบวิธีวิจัย

การดำเนินการศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ครั้งนี้ผู้ศึกษาได้แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
2. เพื่อศึกษาการวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
3. เพื่อศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และการจัดการเชิงกลยุทธ์ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่เหตุผลที่องค์การต้องเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร จะเกิดอะไรขึ้นหากองค์กรไม่เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรนั้น ได้มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร ได้พิจารณาประเด็นที่สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในองค์กรอย่างไรบ้างปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร เพราะเหตุใด และขั้นตอนการดำเนินการในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร และผู้ที่มีบทบาทในขั้นตอนต่างๆ เหล่านั้น มีอะไรบ้าง
เครื่องมือที่จะใช้ในการศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปตาม ทฤษฎีการสื่อสาร หรือไม่ ในการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ได้มีการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับการจูงใจ และได้มีการวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลง การจัดการที่เกี่ยวกับการจูงใจ การวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลง และกลยุทธ์ใดที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร เพราะเหตุใด
เครื่องมือที่จะใช้ในการศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ในด้าน ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน เมื่อใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

ผลการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาเห็นว่าควรศึกษาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรร่วมกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร จนกระทั่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นการจัดการเชิงกลยุทธ์ใหม่เพื่อให้องค์กรสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสภาพแวดล้อมใหม่ตลอดจนตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างองค์กรกับกลยุทธ์ก่อนนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติต่อไป ผู้ศึกษาของเสนอผลการศึกษาดังนี้

1. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์

• ปัจจัยแวดล้อมภายนอก
จากผลการศึกษาพบว่า บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด นั้นคำนึงถึงปัจจัยภายนอกใน 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก คือความสามารถในการแข่งขันกับเทคโนโลยีในการผลิต โดยมองว่าแม้ว่าผลประกอบการของกิจการจะมีภาพรวมเป็นกำไรสุทธิโดยตลอด พร้อมทั้งมีฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมาก แต่ระบบการบริหารงานขององค์กรยังคงมีความซับซ้อนซึ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการซึ่งส่งผลกระทบไปยังความสามารถในการแข่งขันของกิจการด้วย เนื่องจากมีต้นทุนในการดำเนินการที่เพิ่มสูงขึ้นจากโครงสร้างการบริหารงานที่ซับซ้อน ดังนั้นเพื่อให้สามารถยังคงรักษาระดับการเติบโตของธุรกิจ โดยเฉพาะในภาวะที่ระบบเศรษฐกิจมีความผันผวนและมีแนวโน้มหดตัวมากขึ้น ประการที่สองที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ ได้แก่ เทคโนโลยีในการผลิต เพราะปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลติมิใช่เพียงแต่จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตระยะยาวขององค์กรหากยังช่วยขยายฐานสินค้าและนำไปสู่การขยายฐานผู้บริโภคอีกด้วย ดังนั้นองค์ที่ต้องการให้เกิดความเจริญเติบโตย่อมต้องมีกลยุทธ์ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้วย

• ปัจจัยภายในองค์กร

ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงขนาดองค์กร การเปลี่ยนแปลงบุคลากรหลัก และองค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้เนื่องจากทั้งสามปัจจัยดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ทั้งในส่วนของบุคคลกรและขนาดขององค์กร ในขณะที่องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนงานที่ได้วางไว้ในแต่ละปีเป็นอย่างดี แต่ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญได้แก่ การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานในรูปของเงินเดือนและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากในสภาพแวดล้อมที่กิจการตั้งอยู่นั้นเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเป็นรายวันจำนวนมากและไม่มีสวัสดิการอื่นๆ เหมือนที่กิจารให้กับพนักงานจึงทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับพนักงานในบริษัท และปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเมืองภายในองค์กร มีปัญหาไม่ลงรอยกันระหว่างผู้บริหารระดับกลางในฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางความคิดและแนวทางการปฏิบัติงานรวมทั้งไม่ยอมรับซึ่งกันและกันทำให้ ทำให้ระบบการบริหารภายในขาดประสิทธิภาพและการเชื่อมโยงการทำงานภายในองค์กร
ในส่วนประเด็นของขั้นตอนการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์นั้น ผู้ศึกษาได้พิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการว่ามีขั้นตอนอย่างไร สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในองค์กรอย่างไรบ้าง ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร มีชั้นตอนดังนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งที่เกิดจากปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กร หากกิจการไม่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงองค์กรดังกล่าวนั้นเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด อาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กร ดังนั้นองค์กรจึงได้มีการกำหนดขั้นตอนในการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรของกิจได้
ประเด็นที่เกี่ยวกับปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร เพราะเหตุใด ผลการศึกษาในประเด็นนี้พบว่า โครงสร้างองค์กรที่เป็นอยู่นั้นมิได้ทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเชิงกลยุทธ์แต่อย่างใดหากเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยมีทรัพยากรเป็นปัจจัยสนับสนุนอีกทางหนึ่งสืบเนื่องจากองค์กรได้จัดให้มีการเสริมสร้างความรู้ให้กับพนักงานผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานและหลักสูตรความรู้ทั่วไปเพิ่มเติมทำให้ทรัพยากรบุคคลของกิจการมีความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร เพราะที่ผ่านมากิจการไม่ได้สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีในด้านการบริหาร ไม่ได้สร้างให้เกิดความรู้การเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ
2. ศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

สำหรับการพิจารณาการนำกลยุทธ์การจัดการไปปฏิบัตินั้นจำเป็นที่จะต้องมีการสื่อสารที่ได้และต้องมีการวางแผนในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้บริหารและพนักงานทุกฝ่ายที่เป็นผู้ปฏิบัติ โดยจะพิจารณาว่าการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปตาม ทฤษฎีการสื่อสาร หรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ส่งสาร คือ ผู้บริหารระดับสูงประกาศนโยบาย สาร คือ นโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์กร การไหลเวียนของสาร มีการส่งสารไปยังผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้กระจายไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา ช่องทางการส่งสาร ผ่านทาง Intranet การติดประกาศ เอกสาร ผู้รับสาร คือ ผู้บริหารและพนักงานทุกคน
ในการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ได้มีการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับการจูงใจ และได้มีการวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง โดยผลการศึกษาพบว่า การจัดการความขัดแย้ง หรือการต้อต้านการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ช่องทางการสื่อสารภายใน เช่นการประชุมร่วมกัน ผู้บริหารทำหน้าที่ประสานให้แต่ละหน่วยงานมีความเข้าใจโดยโน้มน้าวและจูงใจให้มีความเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลง ร่วมถึงการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงโดยให้พนักงานได้มีโอกาส ร่วมแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงงานของตนเอง ตามแผนพัฒนาขององค์การ เช่น การจัดทำกิจกรรม 5 ส Kaizen Qcc ฯลฯ
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร นั้นผลการศึกษาพบว่าบริษัทจะแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ภาวะผู้นำ เพื่อให้พนักงานทุกระดับมีภาวะผู้นำที่ดีในการปฏิบัติ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ในการปรับปรุงงานของตนเอง กลุ่มช่วยการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างบรรยากาศให้พนักงานทำงานมีการประสานงานให้มีความราบรื่น มีการทำงานเป็นทีม สื่อสารภายในให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

3. เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

จากการศึกษาพบว่าการสื่อสารจากล่างขึ้นบนและนำไปปฏิบัติ, การให้ผลตอบรับต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน ในส่วนของผู้นำ จะต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนปัญหาต่างๆที่เกิดจากการปฏิบัติงานของพนักงาน เนื่องจากพนักงานเป็นผู้ใกล้ชิดกับลูกค้าที่สุด และเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานจริง ดังนั้นพนักงานจะมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และต้องสื่อสารให้ผู้จัดการรับรู้ถึงปัญหาเหล่านั้น และหาแนวทางหรือวิธีการแก้ไขต่อไป นอกจากนี้ผู้จัดการยังต้องมีการเฝ้าติดตามการปฏิบัติงานของพนักงาน ให้ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำกลับไปยังพนักงานอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ในส่วนพนักงาน เองก็ต้องการสื่อสารว่าพวกเขาจะสามารถช่วยเหลือบริษัทได้อย่างไรเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร เพราะถ้าหากไม่มีการสื่อสารขึ้นไปในระดับบน ผู้จัดการก็จะไม่ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพนักงานเองก็จะไม่ทราบถึงแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ดังนั้นหากมีการสื่อสารที่รวดเร็วทั้ง 2 ฝ่าย ก็จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที ก่อนที่ปัญหานั้นจะลุกลามใหญ่โต จนมีผลเสียกระทบถึงภาพพจน์ขององค์กร

บทสรุป

บทสรุปของการศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศในภาวะเปลี่ยนแปลง : กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์องค์กรมีดังนี้
ข้อสรุปที่ 1 ปัจจัยภายในองค์กร คือ ความล้มเหลวของกลยุทธ์องค์กรร่วมกับปัจจัยภายนอกด้านตลาดเป็นปัจจัยหลักของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ขณะที่ปัจจัยภายนอกอื่นเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น ส่วนกลยุทธ์ชุดใหม่มีความสอดคล้องระหว่างภาวะที่องค์กรเป็นอยู่ในปัจจุบันกับภาวะที่คาดหวังในอนาคต ซึ่งการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์การมาจากการทบทวนและพิจารณาความเป็นตัวตนขององค์กรและภาวะที่องค์กรคาดหวังในอนาคตเพื่อกำหนดจุดยืนและทิศทางขององค์กรในระยะยาวอันเป็นกระบวนการของการจัดการเชิงกลยุทธ์ของผู้นำองค์กรคนใหม่ ซึ่งจุดยืนธุรกิจใหม่ คือ การเน้นตลาดที่องค์กรเลือกแล้วว่าตนมีความสามารถในการแข่งขันและทำกำไร ซึ่งการดำเนินกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกนั้นใช้กลยุทธ์ฟื้นฟูเพื่อสร้างเสถียรภาพให้องค์กรจากสถานะขาดทุนให้กลับสู่สภาวะปกติ จากนั้นจึงใช้กลยุทธ์เติบโตเพื่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการสร้างอัตราการเติบโตเชิงรายได้ และกำไรต่อไป
ข้อสรุปที่ 2 การวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรได้กำหนดกรอบการสื่อสารเฉพาะการสื่อสารภายในองค์กรเป็นการสื่อสารสาธารณะที่เน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าโดยการประชุมชี้แจงเป็นหลัก มีแบบแผนคล้ายการสื่อสารแบบสองจังหวะตามระดับการจัดการกลยุทธ์ในโครงสร้างองค์การซึ่งแบ่งการวางแผนออกเป็น 3 ระยะ คือ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์การและการสื่อสารเพื่อดำเนินกลยุทธ์เติบโตหลังวันประกาศใช้กลยุทธ์องค์การ
ข้อสรุปที่ 3 กิจกรรมการสื่อสารหลักเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์การ คือ การประชุมชี้แจงซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะตามระยะการวางแผนการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู และ การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์กร ซึ่งภาพรวมของการประเมินประสิทธิผลของการสื่อสารถือว่าสำเร็จในแง่ของการบรรลุเป้าหมายและขจัดปัญหาหรืออยู่ในระดับการผูกมัด กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าในรูปของการประชุมชี้แจงเป็นหลักโดยมีสื่ออื่นทั้งสื่อประกอบและสื่อสนับสนุนเป็นสื่อรอง กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบ่งเป็น 2 ช่วง ตามช่วงเวลาของการวางแผนการสื่อสาร

ข้อเสนอแนะ

ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะแก่ผู้ที่จะนำการศึกษานี้ไปใช้ประโยชน์หรือขยายการศึกษาต่อไปในอนาคต ดังนี้
1. การศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศจะต้องบูรณาการวิธีการศึกษาเข้าด้วยกัน เนื่องจากเป็นการศึกษาองค์กรภายใต้พลวัตของกระแสโลกาภิวัฒน์ และวางแผนในการเข้าถึงข้อมูลอย่างละเอียด รอบคอบ และแยบยล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ศึกษาไม่ใช่ “คนใน” เพราะปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์การและการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรนั้นเกี่ยวข้องกับบุคคลผู้มีส่วนได้เสียและข้อมูลปกปิดขององค์กร
2. การศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะเกี่ยวข้องกับองค์กรในเครือที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ดังนั้นการเก็บข้อมูลควรขยายไปถึงภูมิหลังของแต่ละประเทศเพื่อความเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร เช่น โครงสร้าง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการวิเคราะห์ลักษณะเหมาะรวม (stereo-type) ของคนชาติต่าง ๆ ที่แตกต่างกันในส่วนของรายละเอียด
3. การที่การศึกษาครั้งนี้พบว่าวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจซึ่งพัฒนามาจากการกระจายอำนาจและได้พัฒนาไปสู่ภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะภาวะผู้นำช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งเป็นภาวะผู้นำที่จะเป็นต่อความสำเร็จของการสื่อสารกลยุทธ์องค์กร จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในการขยายการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจในแง่มุมต่าง ๆ ต่อไปอย่างกว้างขวางเพื่อสร้างทฤษฏีที่นำไปสนับสนุนการจัดการและการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวะเปลี่ยนแปลง
4. การศึกษานี้จะสมบูรณ์มากขึ้นหากสามารถผนวกการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณเข้าไว้ด้วยกันเพื่อทำให้การอธิบายปรากฏการณ์ครบถ้วน ถูกต้องและหนักแน่นในการนำข้อค้นพบไปสู่ข้อสรุปทั่วไปได้ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพช่วยทำให้เข้าใจตัวแปรที่พัฒนาไปตามสถานการณ์ของสังคมและบริบทโดยรอบขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณจะทำให้ทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรเพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องเชิงสาเหตุและผลกระทบ





















บรรณานุกรม

John L. Thompson, Understanding Corporate Strategy (London: Thomson Learning, 2001), p. 14.
Edgar H. Schein, The Corporate Culture Survival Guide: Sense and Nonsense about Cultural Change (California: Jossey-Bass Inc., 1999), pp. 15-20.
J. Hayes and P. Hyde, Managing the Merger, A Change Mangement Simulation (Novi, Michigan: Organisation Learning Tools, 1998), quoted in John Hayes, The Theory and Practice of Change Management (Wiltshire: Palgrave, 2002), pp. 54-55.

เรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร”

เรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร”

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร” ครั้งนี้ ผู้ศึกษาประยุกต์ใช้แบบจำลองของ J. Hayes and P. Hyde เป็นกรอบการศึกษาโดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์การศึกษา ได้แก่ ประการแรก คือ ศึกษาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงองค์กรอันเกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์กรอันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ประการที่สอง คือ ศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และประการที่สาม คือ ศึกษากิจกรรมการสื่อสารกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์เป็นดังนี้
ข้อสรุปที่ 1 พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายในองค์กร คือ ความล้มเหลวของกลยุทธ์องค์กรเป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์องค์กรแบบเดิม เนื่องจากประสบปัญหา ขนาดของตลาด คู่แข่ง การบริหารงานที่ผิดพลาด ทำให้ผลประกอบการขององค์กรขาดทุนและนำมาสู่การเปลี่ยนผู้นำองค์กร ในขณะที่ปัจจัยภายนอกองค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยีในการศึกษานี้เป็นเพียงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคซึ่งเป็นปัจจัยเสริมที่มีผลให้กลยุทธ์พลาดไปจากเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ขณะที่ปัจจัยด้านการเมืองไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร
ข้อสรุปที่ 2 การวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปกลยุทธ์ไปปฏิบัติได้กำหนดกรอบการสื่อสารเฉพาะการสื่อสารภายในองค์กรเป็นการสื่อสารสาธารณะที่เน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าโดยการประชุมชี้แจงเป็นหลัก มีแบบแผนคล้ายการสื่อสารแบบสองจังหวะตามระดับการจัดการกลยุทธ์ในโครงสร้างองค์การซึ่งแบ่งการวางแผนออกเป็น 3 ระยะ คือ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์การและการสื่อสารเพื่อดำเนินกลยุทธ์เติบโตหลังวันประกาศใช้กลยุทธ์องค์การ พบว่าผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ความสำคัญกับการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีรูปแบบการวางแผนที่แตกต่างกันไปโดยผู้นำการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเลือกวิธีการประชุมเพราะเชื่อว่าการเห็นหน้าค่าตากันช่วยลดความเคลือบแคลงใจได้ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงบางคนเลือกการนำเสนอแบบพิเศษและสร้างบรรยากาศเชิงบวกรวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้รับสารแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ ส่วนสื่ออื่นๆ ที่ฝ่ายสื่อสารองค์กรใช้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ได้แก่ สื่ออินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ และสื่อสิ่งพิมพ์คือ วารสารภายใน
ข้อสรุปที่ 3 ศึกษากิจกรรมการสื่อสารกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร คือ การประชุมชี้แจงซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะตามระยะการวางแผนการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู และ การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์กร ซึ่งภาพรวมของการประเมินประสิทธิผลของการสื่อสารถือว่าสำเร็จในแง่ของการบรรลุเป้าหมายและขจัดปัญหาหรืออยู่ในระดับการผูกมัด กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าในรูปของการประชุมชี้แจงเป็นหลัก

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ผลสืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบในวงกว้างทุกภาคเศรษฐกิจ ทำให้กิจการมีภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เกิดจากราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงสุดในรอบหลายปี มีผลทำให้ธุรกิจไม่สามารถอยู่รอดได้มีการปิดกิจการจำนวนมาก ในขณะเดียวกันที่หลายธุรกิจสามารถปรับตัวให้สามารถอยู่รอดได้ หนทางหนึ่งในการปรับตัวของธุรกิจคือ การเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งในส่วนของความเป็นเจ้าของและการบริหารงาน โดยการร่วมทุนระหว่างประเทศ (Joint Venture) ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นมากในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อองค์กรต้องมีการปรับตัวย่อมส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานเดิมทั้งในส่วนของเนื้องานหรือกระบวนการทำงานและผลผลิต ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาภายในองค์กรตามมาในภายหลัง
โดยการศึกษาในครั้งนี้จะได้ศึกษาข้อมูลจาก บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท บางกอกแปซิฟิคสตีล จำกัด และ บริษัท THS SPRING จำกัด ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ จึงได้รับนวัตกรรมองค์ความรู้จากประเทศญี่ปุ่น ทำให้บริษัทฯ เป็นผู้ชำนาญทางด้านออกแบบแม่พิมพ์ การปั๊มชิ้นงานและขึ้นรูปชิ้นงานที่เป็นโลหะ และ งานทางด้านสปริงส์ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์และจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจากคุณลักษณะขององค์กรดังกล่าวจะเห็นว่ามีประเด็นที่จะนำไปสู่ความสำคัญในการศึกษาได้แก่ การที่บริษัทเป็นบริษัทร่วมทุนย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของโครงสร้างในการบริหารงาน อีกทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิต เนื่องจากมีสายการผลิตที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากเดิม ซึ่งทั้งสองปัจจัยดังกล่าว ผู้นำองค์กรต้องมีความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ดีและมีการสื่อสารที่ดีเพื่อให้สามารถนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปปฏิบัติได้จริง
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยจะพิจารณาทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรมักมาจาก “วัฒนธรรมองค์กร” Edgar H. Schein, (1999 : 15-20) ได้แก่ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้น (โครงสร้างและกระบวนการ) หลักการ (ปรัชญา เป้าหมายและกลยุทธ์) และระดับนัยร่วม (ค่านิยม ความเชื่อและฐานคติ) ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของ บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี 2540 จึงเป็นเหตุให้ บริษัทฯ ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรโดยร่วมทุนกับบริษัทในญี่ปุ่น โดยเป้าหมายเบื้องต้นในการกอบกู้ภาวะทางธุรกิจขององค์กรเพื่อสร้างประสิทธิภาพแก่องค์กรมากยิ่งขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ศึกษาสนใจที่จะศึกษาต่อไปว่าปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรในครั้งนี้ร่วมด้วยหรือไม่


วัตถุประสงค์

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ เพื่อศึกษาการวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร และเพื่อศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร

กรอบการศึกษา















กลยุทธ์องค์กรเป็นตัวกำหนดภาพรวมให้แก่องค์กรในการจัดกระบวนโครงสร้างและการจัดการกลยุทธ์องค์กร John L. Thompson, ( 2001 : 15.) เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ผสานและใช้ทรัพยากรขององค์กรร่วมกันในการสร้างความพึงพอใจต่อผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์การโดยเฉพาะผู้ถือหุ้นและลูกค้า ดังนั้นผู้บริหารจะต้องทราบว่าองค์กรกำลังเผชิญโอกาสและอุปสรรคใดแล้วจึงสังเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในรูปของแบบแผน (pattern) และเผยแพร่การเปลี่ยนแปลงนั้นผ่านการเรียนรู้และการปฏิบัติที่ดี ดังนั้นความสำเร็จของการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของการสื่อสารด้วย ผู้ศึกษาประยุกต์ใช้แบบจำลองของ J. Hayes and P. Hyde ( 1998 : 54-55) มาใช้เพื่ออธิบายการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศในภาวะเปลี่ยนแปลง ตามที่ J. Hayes and P. Hyde ได้เสนอขั้นตอนในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง 6 ขั้น ได้แก่ การรับรู้การเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์การ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ การตรวจวินิจฉัยสิ่งที่องค์การเป็นอยู่ในปัจจุบันและระบุสถานะในอนาคตขององค์การ การเตรียมการและการวางแผนเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ การลงมือปฏิบัติการ ทบทวนและประเมินผลการเปลี่ยนแปลง โดยผู้ศึกษาได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ซึ่งเชื่อมโยงกันตามลำดับดังนี้การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และการจัดการเชิงกลยุทธ์ 2.การวางแผนการสื่อสารการเปลี่ยนแปลง 3.กิจกรรมการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการประเมินประสิทธิผล

ระเบียบวิธีวิจัย

การดำเนินการศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ครั้งนี้ผู้ศึกษาได้แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
2. เพื่อศึกษาการวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
3. เพื่อศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และการจัดการเชิงกลยุทธ์ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่เหตุผลที่องค์การต้องเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร จะเกิดอะไรขึ้นหากองค์กรไม่เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรนั้น ได้มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร ได้พิจารณาประเด็นที่สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในองค์กรอย่างไรบ้างปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร เพราะเหตุใด และขั้นตอนการดำเนินการในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร และผู้ที่มีบทบาทในขั้นตอนต่างๆ เหล่านั้น มีอะไรบ้าง
เครื่องมือที่จะใช้ในการศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปตาม ทฤษฎีการสื่อสาร หรือไม่ ในการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ได้มีการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับการจูงใจ และได้มีการวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลง การจัดการที่เกี่ยวกับการจูงใจ การวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลง และกลยุทธ์ใดที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร เพราะเหตุใด
เครื่องมือที่จะใช้ในการศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ในด้าน ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน เมื่อใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

ผลการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาเห็นว่าควรศึกษาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรร่วมกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร จนกระทั่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นการจัดการเชิงกลยุทธ์ใหม่เพื่อให้องค์กรสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสภาพแวดล้อมใหม่ตลอดจนตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างองค์กรกับกลยุทธ์ก่อนนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติต่อไป ผู้ศึกษาของเสนอผลการศึกษาดังนี้

1. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์

• ปัจจัยแวดล้อมภายนอก
จากผลการศึกษาพบว่า บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด นั้นคำนึงถึงปัจจัยภายนอกใน 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก คือความสามารถในการแข่งขันกับเทคโนโลยีในการผลิต โดยมองว่าแม้ว่าผลประกอบการของกิจการจะมีภาพรวมเป็นกำไรสุทธิโดยตลอด พร้อมทั้งมีฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมาก แต่ระบบการบริหารงานขององค์กรยังคงมีความซับซ้อนซึ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการซึ่งส่งผลกระทบไปยังความสามารถในการแข่งขันของกิจการด้วย เนื่องจากมีต้นทุนในการดำเนินการที่เพิ่มสูงขึ้นจากโครงสร้างการบริหารงานที่ซับซ้อน ดังนั้นเพื่อให้สามารถยังคงรักษาระดับการเติบโตของธุรกิจ โดยเฉพาะในภาวะที่ระบบเศรษฐกิจมีความผันผวนและมีแนวโน้มหดตัวมากขึ้น ประการที่สองที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ ได้แก่ เทคโนโลยีในการผลิต เพราะปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลติมิใช่เพียงแต่จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตระยะยาวขององค์กรหากยังช่วยขยายฐานสินค้าและนำไปสู่การขยายฐานผู้บริโภคอีกด้วย ดังนั้นองค์ที่ต้องการให้เกิดความเจริญเติบโตย่อมต้องมีกลยุทธ์ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้วย

• ปัจจัยภายในองค์กร

ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงขนาดองค์กร การเปลี่ยนแปลงบุคลากรหลัก และองค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้เนื่องจากทั้งสามปัจจัยดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ทั้งในส่วนของบุคคลกรและขนาดขององค์กร ในขณะที่องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนงานที่ได้วางไว้ในแต่ละปีเป็นอย่างดี แต่ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญได้แก่ การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานในรูปของเงินเดือนและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากในสภาพแวดล้อมที่กิจการตั้งอยู่นั้นเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเป็นรายวันจำนวนมากและไม่มีสวัสดิการอื่นๆ เหมือนที่กิจารให้กับพนักงานจึงทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับพนักงานในบริษัท และปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเมืองภายในองค์กร มีปัญหาไม่ลงรอยกันระหว่างผู้บริหารระดับกลางในฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางความคิดและแนวทางการปฏิบัติงานรวมทั้งไม่ยอมรับซึ่งกันและกันทำให้ ทำให้ระบบการบริหารภายในขาดประสิทธิภาพและการเชื่อมโยงการทำงานภายในองค์กร
ในส่วนประเด็นของขั้นตอนการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์นั้น ผู้ศึกษาได้พิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการว่ามีขั้นตอนอย่างไร สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในองค์กรอย่างไรบ้าง ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร มีชั้นตอนดังนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งที่เกิดจากปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กร หากกิจการไม่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงองค์กรดังกล่าวนั้นเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด อาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กร ดังนั้นองค์กรจึงได้มีการกำหนดขั้นตอนในการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรของกิจได้
ประเด็นที่เกี่ยวกับปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร เพราะเหตุใด ผลการศึกษาในประเด็นนี้พบว่า โครงสร้างองค์กรที่เป็นอยู่นั้นมิได้ทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเชิงกลยุทธ์แต่อย่างใดหากเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยมีทรัพยากรเป็นปัจจัยสนับสนุนอีกทางหนึ่งสืบเนื่องจากองค์กรได้จัดให้มีการเสริมสร้างความรู้ให้กับพนักงานผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานและหลักสูตรความรู้ทั่วไปเพิ่มเติมทำให้ทรัพยากรบุคคลของกิจการมีความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร เพราะที่ผ่านมากิจการไม่ได้สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีในด้านการบริหาร ไม่ได้สร้างให้เกิดความรู้การเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ
2. ศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

สำหรับการพิจารณาการนำกลยุทธ์การจัดการไปปฏิบัตินั้นจำเป็นที่จะต้องมีการสื่อสารที่ได้และต้องมีการวางแผนในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้บริหารและพนักงานทุกฝ่ายที่เป็นผู้ปฏิบัติ โดยจะพิจารณาว่าการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปตาม ทฤษฎีการสื่อสาร หรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ส่งสาร คือ ผู้บริหารระดับสูงประกาศนโยบาย สาร คือ นโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์กร การไหลเวียนของสาร มีการส่งสารไปยังผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้กระจายไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา ช่องทางการส่งสาร ผ่านทาง Intranet การติดประกาศ เอกสาร ผู้รับสาร คือ ผู้บริหารและพนักงานทุกคน
ในการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ได้มีการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับการจูงใจ และได้มีการวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง โดยผลการศึกษาพบว่า การจัดการความขัดแย้ง หรือการต้อต้านการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ช่องทางการสื่อสารภายใน เช่นการประชุมร่วมกัน ผู้บริหารทำหน้าที่ประสานให้แต่ละหน่วยงานมีความเข้าใจโดยโน้มน้าวและจูงใจให้มีความเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลง ร่วมถึงการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงโดยให้พนักงานได้มีโอกาส ร่วมแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงงานของตนเอง ตามแผนพัฒนาขององค์การ เช่น การจัดทำกิจกรรม 5 ส Kaizen Qcc ฯลฯ
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร นั้นผลการศึกษาพบว่าบริษัทจะแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ภาวะผู้นำ เพื่อให้พนักงานทุกระดับมีภาวะผู้นำที่ดีในการปฏิบัติ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ในการปรับปรุงงานของตนเอง กลุ่มช่วยการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างบรรยากาศให้พนักงานทำงานมีการประสานงานให้มีความราบรื่น มีการทำงานเป็นทีม สื่อสารภายในให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

3. เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

จากการศึกษาพบว่าการสื่อสารจากล่างขึ้นบนและนำไปปฏิบัติ, การให้ผลตอบรับต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน ในส่วนของผู้นำ จะต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนปัญหาต่างๆที่เกิดจากการปฏิบัติงานของพนักงาน เนื่องจากพนักงานเป็นผู้ใกล้ชิดกับลูกค้าที่สุด และเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานจริง ดังนั้นพนักงานจะมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และต้องสื่อสารให้ผู้จัดการรับรู้ถึงปัญหาเหล่านั้น และหาแนวทางหรือวิธีการแก้ไขต่อไป นอกจากนี้ผู้จัดการยังต้องมีการเฝ้าติดตามการปฏิบัติงานของพนักงาน ให้ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำกลับไปยังพนักงานอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ในส่วนพนักงาน เองก็ต้องการสื่อสารว่าพวกเขาจะสามารถช่วยเหลือบริษัทได้อย่างไรเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร เพราะถ้าหากไม่มีการสื่อสารขึ้นไปในระดับบน ผู้จัดการก็จะไม่ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพนักงานเองก็จะไม่ทราบถึงแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ดังนั้นหากมีการสื่อสารที่รวดเร็วทั้ง 2 ฝ่าย ก็จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที ก่อนที่ปัญหานั้นจะลุกลามใหญ่โต จนมีผลเสียกระทบถึงภาพพจน์ขององค์กร

บทสรุป

บทสรุปของการศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศในภาวะเปลี่ยนแปลง : กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์องค์กรมีดังนี้
ข้อสรุปที่ 1 ปัจจัยภายในองค์กร คือ ความล้มเหลวของกลยุทธ์องค์กรร่วมกับปัจจัยภายนอกด้านตลาดเป็นปัจจัยหลักของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ขณะที่ปัจจัยภายนอกอื่นเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น ส่วนกลยุทธ์ชุดใหม่มีความสอดคล้องระหว่างภาวะที่องค์กรเป็นอยู่ในปัจจุบันกับภาวะที่คาดหวังในอนาคต ซึ่งการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์การมาจากการทบทวนและพิจารณาความเป็นตัวตนขององค์กรและภาวะที่องค์กรคาดหวังในอนาคตเพื่อกำหนดจุดยืนและทิศทางขององค์กรในระยะยาวอันเป็นกระบวนการของการจัดการเชิงกลยุทธ์ของผู้นำองค์กรคนใหม่ ซึ่งจุดยืนธุรกิจใหม่ คือ การเน้นตลาดที่องค์กรเลือกแล้วว่าตนมีความสามารถในการแข่งขันและทำกำไร ซึ่งการดำเนินกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกนั้นใช้กลยุทธ์ฟื้นฟูเพื่อสร้างเสถียรภาพให้องค์กรจากสถานะขาดทุนให้กลับสู่สภาวะปกติ จากนั้นจึงใช้กลยุทธ์เติบโตเพื่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการสร้างอัตราการเติบโตเชิงรายได้ และกำไรต่อไป
ข้อสรุปที่ 2 การวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรได้กำหนดกรอบการสื่อสารเฉพาะการสื่อสารภายในองค์กรเป็นการสื่อสารสาธารณะที่เน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าโดยการประชุมชี้แจงเป็นหลัก มีแบบแผนคล้ายการสื่อสารแบบสองจังหวะตามระดับการจัดการกลยุทธ์ในโครงสร้างองค์การซึ่งแบ่งการวางแผนออกเป็น 3 ระยะ คือ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์การและการสื่อสารเพื่อดำเนินกลยุทธ์เติบโตหลังวันประกาศใช้กลยุทธ์องค์การ
ข้อสรุปที่ 3 กิจกรรมการสื่อสารหลักเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์การ คือ การประชุมชี้แจงซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะตามระยะการวางแผนการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู และ การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์กร ซึ่งภาพรวมของการประเมินประสิทธิผลของการสื่อสารถือว่าสำเร็จในแง่ของการบรรลุเป้าหมายและขจัดปัญหาหรืออยู่ในระดับการผูกมัด กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าในรูปของการประชุมชี้แจงเป็นหลักโดยมีสื่ออื่นทั้งสื่อประกอบและสื่อสนับสนุนเป็นสื่อรอง กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบ่งเป็น 2 ช่วง ตามช่วงเวลาของการวางแผนการสื่อสาร

ข้อเสนอแนะ

ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะแก่ผู้ที่จะนำการศึกษานี้ไปใช้ประโยชน์หรือขยายการศึกษาต่อไปในอนาคต ดังนี้
1. การศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศจะต้องบูรณาการวิธีการศึกษาเข้าด้วยกัน เนื่องจากเป็นการศึกษาองค์กรภายใต้พลวัตของกระแสโลกาภิวัฒน์ และวางแผนในการเข้าถึงข้อมูลอย่างละเอียด รอบคอบ และแยบยล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ศึกษาไม่ใช่ “คนใน” เพราะปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์การและการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรนั้นเกี่ยวข้องกับบุคคลผู้มีส่วนได้เสียและข้อมูลปกปิดขององค์กร
2. การศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะเกี่ยวข้องกับองค์กรในเครือที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ดังนั้นการเก็บข้อมูลควรขยายไปถึงภูมิหลังของแต่ละประเทศเพื่อความเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร เช่น โครงสร้าง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการวิเคราะห์ลักษณะเหมาะรวม (stereo-type) ของคนชาติต่าง ๆ ที่แตกต่างกันในส่วนของรายละเอียด
3. การที่การศึกษาครั้งนี้พบว่าวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจซึ่งพัฒนามาจากการกระจายอำนาจและได้พัฒนาไปสู่ภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะภาวะผู้นำช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งเป็นภาวะผู้นำที่จะเป็นต่อความสำเร็จของการสื่อสารกลยุทธ์องค์กร จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในการขยายการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจในแง่มุมต่าง ๆ ต่อไปอย่างกว้างขวางเพื่อสร้างทฤษฏีที่นำไปสนับสนุนการจัดการและการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวะเปลี่ยนแปลง
4. การศึกษานี้จะสมบูรณ์มากขึ้นหากสามารถผนวกการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณเข้าไว้ด้วยกันเพื่อทำให้การอธิบายปรากฏการณ์ครบถ้วน ถูกต้องและหนักแน่นในการนำข้อค้นพบไปสู่ข้อสรุปทั่วไปได้ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพช่วยทำให้เข้าใจตัวแปรที่พัฒนาไปตามสถานการณ์ของสังคมและบริบทโดยรอบขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณจะทำให้ทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรเพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องเชิงสาเหตุและผลกระทบ





















บรรณานุกรม

John L. Thompson, Understanding Corporate Strategy (London: Thomson Learning, 2001), p. 14.
Edgar H. Schein, The Corporate Culture Survival Guide: Sense and Nonsense about Cultural Change (California: Jossey-Bass Inc., 1999), pp. 15-20.
J. Hayes and P. Hyde, Managing the Merger, A Change Mangement Simulation (Novi, Michigan: Organisation Learning Tools, 1998), quoted in John Hayes, The Theory and Practice of Change Management (Wiltshire: Palgrave, 2002), pp. 54-55.