วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร”

เรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร”

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร” ครั้งนี้ ผู้ศึกษาประยุกต์ใช้แบบจำลองของ J. Hayes and P. Hyde เป็นกรอบการศึกษาโดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์การศึกษา ได้แก่ ประการแรก คือ ศึกษาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงองค์กรอันเกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์กรอันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ประการที่สอง คือ ศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และประการที่สาม คือ ศึกษากิจกรรมการสื่อสารกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์เป็นดังนี้
ข้อสรุปที่ 1 พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายในองค์กร คือ ความล้มเหลวของกลยุทธ์องค์กรเป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์องค์กรแบบเดิม เนื่องจากประสบปัญหา ขนาดของตลาด คู่แข่ง การบริหารงานที่ผิดพลาด ทำให้ผลประกอบการขององค์กรขาดทุนและนำมาสู่การเปลี่ยนผู้นำองค์กร ในขณะที่ปัจจัยภายนอกองค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยีในการศึกษานี้เป็นเพียงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคซึ่งเป็นปัจจัยเสริมที่มีผลให้กลยุทธ์พลาดไปจากเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ขณะที่ปัจจัยด้านการเมืองไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร
ข้อสรุปที่ 2 การวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปกลยุทธ์ไปปฏิบัติได้กำหนดกรอบการสื่อสารเฉพาะการสื่อสารภายในองค์กรเป็นการสื่อสารสาธารณะที่เน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าโดยการประชุมชี้แจงเป็นหลัก มีแบบแผนคล้ายการสื่อสารแบบสองจังหวะตามระดับการจัดการกลยุทธ์ในโครงสร้างองค์การซึ่งแบ่งการวางแผนออกเป็น 3 ระยะ คือ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์การและการสื่อสารเพื่อดำเนินกลยุทธ์เติบโตหลังวันประกาศใช้กลยุทธ์องค์การ พบว่าผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ความสำคัญกับการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีรูปแบบการวางแผนที่แตกต่างกันไปโดยผู้นำการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเลือกวิธีการประชุมเพราะเชื่อว่าการเห็นหน้าค่าตากันช่วยลดความเคลือบแคลงใจได้ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงบางคนเลือกการนำเสนอแบบพิเศษและสร้างบรรยากาศเชิงบวกรวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้รับสารแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ ส่วนสื่ออื่นๆ ที่ฝ่ายสื่อสารองค์กรใช้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ได้แก่ สื่ออินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ และสื่อสิ่งพิมพ์คือ วารสารภายใน
ข้อสรุปที่ 3 ศึกษากิจกรรมการสื่อสารกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร คือ การประชุมชี้แจงซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะตามระยะการวางแผนการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู และ การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์กร ซึ่งภาพรวมของการประเมินประสิทธิผลของการสื่อสารถือว่าสำเร็จในแง่ของการบรรลุเป้าหมายและขจัดปัญหาหรืออยู่ในระดับการผูกมัด กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าในรูปของการประชุมชี้แจงเป็นหลัก

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ผลสืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบในวงกว้างทุกภาคเศรษฐกิจ ทำให้กิจการมีภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เกิดจากราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงสุดในรอบหลายปี มีผลทำให้ธุรกิจไม่สามารถอยู่รอดได้มีการปิดกิจการจำนวนมาก ในขณะเดียวกันที่หลายธุรกิจสามารถปรับตัวให้สามารถอยู่รอดได้ หนทางหนึ่งในการปรับตัวของธุรกิจคือ การเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งในส่วนของความเป็นเจ้าของและการบริหารงาน โดยการร่วมทุนระหว่างประเทศ (Joint Venture) ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นมากในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อองค์กรต้องมีการปรับตัวย่อมส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานเดิมทั้งในส่วนของเนื้องานหรือกระบวนการทำงานและผลผลิต ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาภายในองค์กรตามมาในภายหลัง
โดยการศึกษาในครั้งนี้จะได้ศึกษาข้อมูลจาก บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท บางกอกแปซิฟิคสตีล จำกัด และ บริษัท THS SPRING จำกัด ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ จึงได้รับนวัตกรรมองค์ความรู้จากประเทศญี่ปุ่น ทำให้บริษัทฯ เป็นผู้ชำนาญทางด้านออกแบบแม่พิมพ์ การปั๊มชิ้นงานและขึ้นรูปชิ้นงานที่เป็นโลหะ และ งานทางด้านสปริงส์ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์และจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจากคุณลักษณะขององค์กรดังกล่าวจะเห็นว่ามีประเด็นที่จะนำไปสู่ความสำคัญในการศึกษาได้แก่ การที่บริษัทเป็นบริษัทร่วมทุนย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของโครงสร้างในการบริหารงาน อีกทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิต เนื่องจากมีสายการผลิตที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากเดิม ซึ่งทั้งสองปัจจัยดังกล่าว ผู้นำองค์กรต้องมีความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ดีและมีการสื่อสารที่ดีเพื่อให้สามารถนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปปฏิบัติได้จริง
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยจะพิจารณาทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรมักมาจาก “วัฒนธรรมองค์กร” Edgar H. Schein, (1999 : 15-20) ได้แก่ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้น (โครงสร้างและกระบวนการ) หลักการ (ปรัชญา เป้าหมายและกลยุทธ์) และระดับนัยร่วม (ค่านิยม ความเชื่อและฐานคติ) ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของ บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี 2540 จึงเป็นเหตุให้ บริษัทฯ ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรโดยร่วมทุนกับบริษัทในญี่ปุ่น โดยเป้าหมายเบื้องต้นในการกอบกู้ภาวะทางธุรกิจขององค์กรเพื่อสร้างประสิทธิภาพแก่องค์กรมากยิ่งขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ศึกษาสนใจที่จะศึกษาต่อไปว่าปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรในครั้งนี้ร่วมด้วยหรือไม่


วัตถุประสงค์

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ เพื่อศึกษาการวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร และเพื่อศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร

กรอบการศึกษา















กลยุทธ์องค์กรเป็นตัวกำหนดภาพรวมให้แก่องค์กรในการจัดกระบวนโครงสร้างและการจัดการกลยุทธ์องค์กร John L. Thompson, ( 2001 : 15.) เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ผสานและใช้ทรัพยากรขององค์กรร่วมกันในการสร้างความพึงพอใจต่อผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์การโดยเฉพาะผู้ถือหุ้นและลูกค้า ดังนั้นผู้บริหารจะต้องทราบว่าองค์กรกำลังเผชิญโอกาสและอุปสรรคใดแล้วจึงสังเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในรูปของแบบแผน (pattern) และเผยแพร่การเปลี่ยนแปลงนั้นผ่านการเรียนรู้และการปฏิบัติที่ดี ดังนั้นความสำเร็จของการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของการสื่อสารด้วย ผู้ศึกษาประยุกต์ใช้แบบจำลองของ J. Hayes and P. Hyde ( 1998 : 54-55) มาใช้เพื่ออธิบายการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศในภาวะเปลี่ยนแปลง ตามที่ J. Hayes and P. Hyde ได้เสนอขั้นตอนในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง 6 ขั้น ได้แก่ การรับรู้การเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์การ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ การตรวจวินิจฉัยสิ่งที่องค์การเป็นอยู่ในปัจจุบันและระบุสถานะในอนาคตขององค์การ การเตรียมการและการวางแผนเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ การลงมือปฏิบัติการ ทบทวนและประเมินผลการเปลี่ยนแปลง โดยผู้ศึกษาได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ซึ่งเชื่อมโยงกันตามลำดับดังนี้การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และการจัดการเชิงกลยุทธ์ 2.การวางแผนการสื่อสารการเปลี่ยนแปลง 3.กิจกรรมการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการประเมินประสิทธิผล

ระเบียบวิธีวิจัย

การดำเนินการศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ครั้งนี้ผู้ศึกษาได้แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
2. เพื่อศึกษาการวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
3. เพื่อศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และการจัดการเชิงกลยุทธ์ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่เหตุผลที่องค์การต้องเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร จะเกิดอะไรขึ้นหากองค์กรไม่เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรนั้น ได้มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร ได้พิจารณาประเด็นที่สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในองค์กรอย่างไรบ้างปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร เพราะเหตุใด และขั้นตอนการดำเนินการในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร และผู้ที่มีบทบาทในขั้นตอนต่างๆ เหล่านั้น มีอะไรบ้าง
เครื่องมือที่จะใช้ในการศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปตาม ทฤษฎีการสื่อสาร หรือไม่ ในการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ได้มีการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับการจูงใจ และได้มีการวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลง การจัดการที่เกี่ยวกับการจูงใจ การวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลง และกลยุทธ์ใดที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร เพราะเหตุใด
เครื่องมือที่จะใช้ในการศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ในด้าน ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน เมื่อใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

ผลการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาเห็นว่าควรศึกษาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรร่วมกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร จนกระทั่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นการจัดการเชิงกลยุทธ์ใหม่เพื่อให้องค์กรสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสภาพแวดล้อมใหม่ตลอดจนตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างองค์กรกับกลยุทธ์ก่อนนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติต่อไป ผู้ศึกษาของเสนอผลการศึกษาดังนี้

1. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์

• ปัจจัยแวดล้อมภายนอก
จากผลการศึกษาพบว่า บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด นั้นคำนึงถึงปัจจัยภายนอกใน 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก คือความสามารถในการแข่งขันกับเทคโนโลยีในการผลิต โดยมองว่าแม้ว่าผลประกอบการของกิจการจะมีภาพรวมเป็นกำไรสุทธิโดยตลอด พร้อมทั้งมีฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมาก แต่ระบบการบริหารงานขององค์กรยังคงมีความซับซ้อนซึ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการซึ่งส่งผลกระทบไปยังความสามารถในการแข่งขันของกิจการด้วย เนื่องจากมีต้นทุนในการดำเนินการที่เพิ่มสูงขึ้นจากโครงสร้างการบริหารงานที่ซับซ้อน ดังนั้นเพื่อให้สามารถยังคงรักษาระดับการเติบโตของธุรกิจ โดยเฉพาะในภาวะที่ระบบเศรษฐกิจมีความผันผวนและมีแนวโน้มหดตัวมากขึ้น ประการที่สองที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ ได้แก่ เทคโนโลยีในการผลิต เพราะปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลติมิใช่เพียงแต่จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตระยะยาวขององค์กรหากยังช่วยขยายฐานสินค้าและนำไปสู่การขยายฐานผู้บริโภคอีกด้วย ดังนั้นองค์ที่ต้องการให้เกิดความเจริญเติบโตย่อมต้องมีกลยุทธ์ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้วย

• ปัจจัยภายในองค์กร

ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงขนาดองค์กร การเปลี่ยนแปลงบุคลากรหลัก และองค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้เนื่องจากทั้งสามปัจจัยดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ทั้งในส่วนของบุคคลกรและขนาดขององค์กร ในขณะที่องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนงานที่ได้วางไว้ในแต่ละปีเป็นอย่างดี แต่ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญได้แก่ การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานในรูปของเงินเดือนและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากในสภาพแวดล้อมที่กิจการตั้งอยู่นั้นเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเป็นรายวันจำนวนมากและไม่มีสวัสดิการอื่นๆ เหมือนที่กิจารให้กับพนักงานจึงทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับพนักงานในบริษัท และปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเมืองภายในองค์กร มีปัญหาไม่ลงรอยกันระหว่างผู้บริหารระดับกลางในฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางความคิดและแนวทางการปฏิบัติงานรวมทั้งไม่ยอมรับซึ่งกันและกันทำให้ ทำให้ระบบการบริหารภายในขาดประสิทธิภาพและการเชื่อมโยงการทำงานภายในองค์กร
ในส่วนประเด็นของขั้นตอนการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์นั้น ผู้ศึกษาได้พิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการว่ามีขั้นตอนอย่างไร สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในองค์กรอย่างไรบ้าง ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร มีชั้นตอนดังนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งที่เกิดจากปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กร หากกิจการไม่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงองค์กรดังกล่าวนั้นเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด อาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กร ดังนั้นองค์กรจึงได้มีการกำหนดขั้นตอนในการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรของกิจได้
ประเด็นที่เกี่ยวกับปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร เพราะเหตุใด ผลการศึกษาในประเด็นนี้พบว่า โครงสร้างองค์กรที่เป็นอยู่นั้นมิได้ทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเชิงกลยุทธ์แต่อย่างใดหากเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยมีทรัพยากรเป็นปัจจัยสนับสนุนอีกทางหนึ่งสืบเนื่องจากองค์กรได้จัดให้มีการเสริมสร้างความรู้ให้กับพนักงานผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานและหลักสูตรความรู้ทั่วไปเพิ่มเติมทำให้ทรัพยากรบุคคลของกิจการมีความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร เพราะที่ผ่านมากิจการไม่ได้สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีในด้านการบริหาร ไม่ได้สร้างให้เกิดความรู้การเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ
2. ศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

สำหรับการพิจารณาการนำกลยุทธ์การจัดการไปปฏิบัตินั้นจำเป็นที่จะต้องมีการสื่อสารที่ได้และต้องมีการวางแผนในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้บริหารและพนักงานทุกฝ่ายที่เป็นผู้ปฏิบัติ โดยจะพิจารณาว่าการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปตาม ทฤษฎีการสื่อสาร หรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ส่งสาร คือ ผู้บริหารระดับสูงประกาศนโยบาย สาร คือ นโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์กร การไหลเวียนของสาร มีการส่งสารไปยังผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้กระจายไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา ช่องทางการส่งสาร ผ่านทาง Intranet การติดประกาศ เอกสาร ผู้รับสาร คือ ผู้บริหารและพนักงานทุกคน
ในการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ได้มีการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับการจูงใจ และได้มีการวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง โดยผลการศึกษาพบว่า การจัดการความขัดแย้ง หรือการต้อต้านการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ช่องทางการสื่อสารภายใน เช่นการประชุมร่วมกัน ผู้บริหารทำหน้าที่ประสานให้แต่ละหน่วยงานมีความเข้าใจโดยโน้มน้าวและจูงใจให้มีความเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลง ร่วมถึงการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงโดยให้พนักงานได้มีโอกาส ร่วมแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงงานของตนเอง ตามแผนพัฒนาขององค์การ เช่น การจัดทำกิจกรรม 5 ส Kaizen Qcc ฯลฯ
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร นั้นผลการศึกษาพบว่าบริษัทจะแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ภาวะผู้นำ เพื่อให้พนักงานทุกระดับมีภาวะผู้นำที่ดีในการปฏิบัติ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ในการปรับปรุงงานของตนเอง กลุ่มช่วยการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างบรรยากาศให้พนักงานทำงานมีการประสานงานให้มีความราบรื่น มีการทำงานเป็นทีม สื่อสารภายในให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

3. เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

จากการศึกษาพบว่าการสื่อสารจากล่างขึ้นบนและนำไปปฏิบัติ, การให้ผลตอบรับต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน ในส่วนของผู้นำ จะต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนปัญหาต่างๆที่เกิดจากการปฏิบัติงานของพนักงาน เนื่องจากพนักงานเป็นผู้ใกล้ชิดกับลูกค้าที่สุด และเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานจริง ดังนั้นพนักงานจะมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และต้องสื่อสารให้ผู้จัดการรับรู้ถึงปัญหาเหล่านั้น และหาแนวทางหรือวิธีการแก้ไขต่อไป นอกจากนี้ผู้จัดการยังต้องมีการเฝ้าติดตามการปฏิบัติงานของพนักงาน ให้ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำกลับไปยังพนักงานอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ในส่วนพนักงาน เองก็ต้องการสื่อสารว่าพวกเขาจะสามารถช่วยเหลือบริษัทได้อย่างไรเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร เพราะถ้าหากไม่มีการสื่อสารขึ้นไปในระดับบน ผู้จัดการก็จะไม่ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพนักงานเองก็จะไม่ทราบถึงแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ดังนั้นหากมีการสื่อสารที่รวดเร็วทั้ง 2 ฝ่าย ก็จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที ก่อนที่ปัญหานั้นจะลุกลามใหญ่โต จนมีผลเสียกระทบถึงภาพพจน์ขององค์กร

บทสรุป

บทสรุปของการศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศในภาวะเปลี่ยนแปลง : กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์องค์กรมีดังนี้
ข้อสรุปที่ 1 ปัจจัยภายในองค์กร คือ ความล้มเหลวของกลยุทธ์องค์กรร่วมกับปัจจัยภายนอกด้านตลาดเป็นปัจจัยหลักของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ขณะที่ปัจจัยภายนอกอื่นเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น ส่วนกลยุทธ์ชุดใหม่มีความสอดคล้องระหว่างภาวะที่องค์กรเป็นอยู่ในปัจจุบันกับภาวะที่คาดหวังในอนาคต ซึ่งการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์การมาจากการทบทวนและพิจารณาความเป็นตัวตนขององค์กรและภาวะที่องค์กรคาดหวังในอนาคตเพื่อกำหนดจุดยืนและทิศทางขององค์กรในระยะยาวอันเป็นกระบวนการของการจัดการเชิงกลยุทธ์ของผู้นำองค์กรคนใหม่ ซึ่งจุดยืนธุรกิจใหม่ คือ การเน้นตลาดที่องค์กรเลือกแล้วว่าตนมีความสามารถในการแข่งขันและทำกำไร ซึ่งการดำเนินกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกนั้นใช้กลยุทธ์ฟื้นฟูเพื่อสร้างเสถียรภาพให้องค์กรจากสถานะขาดทุนให้กลับสู่สภาวะปกติ จากนั้นจึงใช้กลยุทธ์เติบโตเพื่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการสร้างอัตราการเติบโตเชิงรายได้ และกำไรต่อไป
ข้อสรุปที่ 2 การวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรได้กำหนดกรอบการสื่อสารเฉพาะการสื่อสารภายในองค์กรเป็นการสื่อสารสาธารณะที่เน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าโดยการประชุมชี้แจงเป็นหลัก มีแบบแผนคล้ายการสื่อสารแบบสองจังหวะตามระดับการจัดการกลยุทธ์ในโครงสร้างองค์การซึ่งแบ่งการวางแผนออกเป็น 3 ระยะ คือ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์การและการสื่อสารเพื่อดำเนินกลยุทธ์เติบโตหลังวันประกาศใช้กลยุทธ์องค์การ
ข้อสรุปที่ 3 กิจกรรมการสื่อสารหลักเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์การ คือ การประชุมชี้แจงซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะตามระยะการวางแผนการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู และ การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์กร ซึ่งภาพรวมของการประเมินประสิทธิผลของการสื่อสารถือว่าสำเร็จในแง่ของการบรรลุเป้าหมายและขจัดปัญหาหรืออยู่ในระดับการผูกมัด กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าในรูปของการประชุมชี้แจงเป็นหลักโดยมีสื่ออื่นทั้งสื่อประกอบและสื่อสนับสนุนเป็นสื่อรอง กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบ่งเป็น 2 ช่วง ตามช่วงเวลาของการวางแผนการสื่อสาร

ข้อเสนอแนะ

ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะแก่ผู้ที่จะนำการศึกษานี้ไปใช้ประโยชน์หรือขยายการศึกษาต่อไปในอนาคต ดังนี้
1. การศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศจะต้องบูรณาการวิธีการศึกษาเข้าด้วยกัน เนื่องจากเป็นการศึกษาองค์กรภายใต้พลวัตของกระแสโลกาภิวัฒน์ และวางแผนในการเข้าถึงข้อมูลอย่างละเอียด รอบคอบ และแยบยล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ศึกษาไม่ใช่ “คนใน” เพราะปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์การและการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรนั้นเกี่ยวข้องกับบุคคลผู้มีส่วนได้เสียและข้อมูลปกปิดขององค์กร
2. การศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะเกี่ยวข้องกับองค์กรในเครือที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ดังนั้นการเก็บข้อมูลควรขยายไปถึงภูมิหลังของแต่ละประเทศเพื่อความเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร เช่น โครงสร้าง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการวิเคราะห์ลักษณะเหมาะรวม (stereo-type) ของคนชาติต่าง ๆ ที่แตกต่างกันในส่วนของรายละเอียด
3. การที่การศึกษาครั้งนี้พบว่าวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจซึ่งพัฒนามาจากการกระจายอำนาจและได้พัฒนาไปสู่ภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะภาวะผู้นำช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งเป็นภาวะผู้นำที่จะเป็นต่อความสำเร็จของการสื่อสารกลยุทธ์องค์กร จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในการขยายการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจในแง่มุมต่าง ๆ ต่อไปอย่างกว้างขวางเพื่อสร้างทฤษฏีที่นำไปสนับสนุนการจัดการและการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวะเปลี่ยนแปลง
4. การศึกษานี้จะสมบูรณ์มากขึ้นหากสามารถผนวกการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณเข้าไว้ด้วยกันเพื่อทำให้การอธิบายปรากฏการณ์ครบถ้วน ถูกต้องและหนักแน่นในการนำข้อค้นพบไปสู่ข้อสรุปทั่วไปได้ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพช่วยทำให้เข้าใจตัวแปรที่พัฒนาไปตามสถานการณ์ของสังคมและบริบทโดยรอบขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณจะทำให้ทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรเพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องเชิงสาเหตุและผลกระทบ





















บรรณานุกรม

John L. Thompson, Understanding Corporate Strategy (London: Thomson Learning, 2001), p. 14.
Edgar H. Schein, The Corporate Culture Survival Guide: Sense and Nonsense about Cultural Change (California: Jossey-Bass Inc., 1999), pp. 15-20.
J. Hayes and P. Hyde, Managing the Merger, A Change Mangement Simulation (Novi, Michigan: Organisation Learning Tools, 1998), quoted in John Hayes, The Theory and Practice of Change Management (Wiltshire: Palgrave, 2002), pp. 54-55.

เรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร”

เรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร”

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์ในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์ภายในองค์กร” ครั้งนี้ ผู้ศึกษาประยุกต์ใช้แบบจำลองของ J. Hayes and P. Hyde เป็นกรอบการศึกษาโดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์การศึกษา ได้แก่ ประการแรก คือ ศึกษาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงองค์กรอันเกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์กรอันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ประการที่สอง คือ ศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และประการที่สาม คือ ศึกษากิจกรรมการสื่อสารกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์เป็นดังนี้
ข้อสรุปที่ 1 พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยภายในองค์กร คือ ความล้มเหลวของกลยุทธ์องค์กรเป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์องค์กรแบบเดิม เนื่องจากประสบปัญหา ขนาดของตลาด คู่แข่ง การบริหารงานที่ผิดพลาด ทำให้ผลประกอบการขององค์กรขาดทุนและนำมาสู่การเปลี่ยนผู้นำองค์กร ในขณะที่ปัจจัยภายนอกองค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยีในการศึกษานี้เป็นเพียงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคซึ่งเป็นปัจจัยเสริมที่มีผลให้กลยุทธ์พลาดไปจากเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ขณะที่ปัจจัยด้านการเมืองไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร
ข้อสรุปที่ 2 การวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปกลยุทธ์ไปปฏิบัติได้กำหนดกรอบการสื่อสารเฉพาะการสื่อสารภายในองค์กรเป็นการสื่อสารสาธารณะที่เน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าโดยการประชุมชี้แจงเป็นหลัก มีแบบแผนคล้ายการสื่อสารแบบสองจังหวะตามระดับการจัดการกลยุทธ์ในโครงสร้างองค์การซึ่งแบ่งการวางแผนออกเป็น 3 ระยะ คือ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์การและการสื่อสารเพื่อดำเนินกลยุทธ์เติบโตหลังวันประกาศใช้กลยุทธ์องค์การ พบว่าผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ความสำคัญกับการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีรูปแบบการวางแผนที่แตกต่างกันไปโดยผู้นำการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเลือกวิธีการประชุมเพราะเชื่อว่าการเห็นหน้าค่าตากันช่วยลดความเคลือบแคลงใจได้ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงบางคนเลือกการนำเสนอแบบพิเศษและสร้างบรรยากาศเชิงบวกรวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้รับสารแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ ส่วนสื่ออื่นๆ ที่ฝ่ายสื่อสารองค์กรใช้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ได้แก่ สื่ออินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ และสื่อสิ่งพิมพ์คือ วารสารภายใน
ข้อสรุปที่ 3 ศึกษากิจกรรมการสื่อสารกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร คือ การประชุมชี้แจงซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะตามระยะการวางแผนการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู และ การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์กร ซึ่งภาพรวมของการประเมินประสิทธิผลของการสื่อสารถือว่าสำเร็จในแง่ของการบรรลุเป้าหมายและขจัดปัญหาหรืออยู่ในระดับการผูกมัด กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าในรูปของการประชุมชี้แจงเป็นหลัก

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ผลสืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบในวงกว้างทุกภาคเศรษฐกิจ ทำให้กิจการมีภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เกิดจากราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงสุดในรอบหลายปี มีผลทำให้ธุรกิจไม่สามารถอยู่รอดได้มีการปิดกิจการจำนวนมาก ในขณะเดียวกันที่หลายธุรกิจสามารถปรับตัวให้สามารถอยู่รอดได้ หนทางหนึ่งในการปรับตัวของธุรกิจคือ การเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งในส่วนของความเป็นเจ้าของและการบริหารงาน โดยการร่วมทุนระหว่างประเทศ (Joint Venture) ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นมากในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อองค์กรต้องมีการปรับตัวย่อมส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานเดิมทั้งในส่วนของเนื้องานหรือกระบวนการทำงานและผลผลิต ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาภายในองค์กรตามมาในภายหลัง
โดยการศึกษาในครั้งนี้จะได้ศึกษาข้อมูลจาก บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท บางกอกแปซิฟิคสตีล จำกัด และ บริษัท THS SPRING จำกัด ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ จึงได้รับนวัตกรรมองค์ความรู้จากประเทศญี่ปุ่น ทำให้บริษัทฯ เป็นผู้ชำนาญทางด้านออกแบบแม่พิมพ์ การปั๊มชิ้นงานและขึ้นรูปชิ้นงานที่เป็นโลหะ และ งานทางด้านสปริงส์ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์และจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจากคุณลักษณะขององค์กรดังกล่าวจะเห็นว่ามีประเด็นที่จะนำไปสู่ความสำคัญในการศึกษาได้แก่ การที่บริษัทเป็นบริษัทร่วมทุนย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของโครงสร้างในการบริหารงาน อีกทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิต เนื่องจากมีสายการผลิตที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากเดิม ซึ่งทั้งสองปัจจัยดังกล่าว ผู้นำองค์กรต้องมีความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ดีและมีการสื่อสารที่ดีเพื่อให้สามารถนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปปฏิบัติได้จริง
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยจะพิจารณาทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน โดยจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรมักมาจาก “วัฒนธรรมองค์กร” Edgar H. Schein, (1999 : 15-20) ได้แก่ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้น (โครงสร้างและกระบวนการ) หลักการ (ปรัชญา เป้าหมายและกลยุทธ์) และระดับนัยร่วม (ค่านิยม ความเชื่อและฐานคติ) ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของ บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี 2540 จึงเป็นเหตุให้ บริษัทฯ ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรโดยร่วมทุนกับบริษัทในญี่ปุ่น โดยเป้าหมายเบื้องต้นในการกอบกู้ภาวะทางธุรกิจขององค์กรเพื่อสร้างประสิทธิภาพแก่องค์กรมากยิ่งขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ศึกษาสนใจที่จะศึกษาต่อไปว่าปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรในครั้งนี้ร่วมด้วยหรือไม่


วัตถุประสงค์

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ เพื่อศึกษาการวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร และเพื่อศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร

กรอบการศึกษา















กลยุทธ์องค์กรเป็นตัวกำหนดภาพรวมให้แก่องค์กรในการจัดกระบวนโครงสร้างและการจัดการกลยุทธ์องค์กร John L. Thompson, ( 2001 : 15.) เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ผสานและใช้ทรัพยากรขององค์กรร่วมกันในการสร้างความพึงพอใจต่อผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์การโดยเฉพาะผู้ถือหุ้นและลูกค้า ดังนั้นผู้บริหารจะต้องทราบว่าองค์กรกำลังเผชิญโอกาสและอุปสรรคใดแล้วจึงสังเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในรูปของแบบแผน (pattern) และเผยแพร่การเปลี่ยนแปลงนั้นผ่านการเรียนรู้และการปฏิบัติที่ดี ดังนั้นความสำเร็จของการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของการสื่อสารด้วย ผู้ศึกษาประยุกต์ใช้แบบจำลองของ J. Hayes and P. Hyde ( 1998 : 54-55) มาใช้เพื่ออธิบายการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศในภาวะเปลี่ยนแปลง ตามที่ J. Hayes and P. Hyde ได้เสนอขั้นตอนในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง 6 ขั้น ได้แก่ การรับรู้การเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์การ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ การตรวจวินิจฉัยสิ่งที่องค์การเป็นอยู่ในปัจจุบันและระบุสถานะในอนาคตขององค์การ การเตรียมการและการวางแผนเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ การลงมือปฏิบัติการ ทบทวนและประเมินผลการเปลี่ยนแปลง โดยผู้ศึกษาได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ซึ่งเชื่อมโยงกันตามลำดับดังนี้การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และการจัดการเชิงกลยุทธ์ 2.การวางแผนการสื่อสารการเปลี่ยนแปลง 3.กิจกรรมการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการประเมินประสิทธิผล

ระเบียบวิธีวิจัย

การดำเนินการศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ครั้งนี้ผู้ศึกษาได้แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
2. เพื่อศึกษาการวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
3. เพื่อศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างละ 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรและการจัดการกลยุทธ์ ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และการจัดการเชิงกลยุทธ์ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่เหตุผลที่องค์การต้องเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร จะเกิดอะไรขึ้นหากองค์กรไม่เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรนั้น ได้มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร ได้พิจารณาประเด็นที่สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในองค์กรอย่างไรบ้างปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร เพราะเหตุใด และขั้นตอนการดำเนินการในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร และผู้ที่มีบทบาทในขั้นตอนต่างๆ เหล่านั้น มีอะไรบ้าง
เครื่องมือที่จะใช้ในการศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปตาม ทฤษฎีการสื่อสาร หรือไม่ ในการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ได้มีการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับการจูงใจ และได้มีการวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลง การจัดการที่เกี่ยวกับการจูงใจ การวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลง และกลยุทธ์ใดที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร เพราะเหตุใด
เครื่องมือที่จะใช้ในการศึกษากิจกรรมการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ของบริษัท ไทโยสปริงส์ จำกัด ในด้าน ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน เมื่อใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

ผลการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาเห็นว่าควรศึกษาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรร่วมกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร จนกระทั่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นการจัดการเชิงกลยุทธ์ใหม่เพื่อให้องค์กรสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสภาพแวดล้อมใหม่ตลอดจนตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างองค์กรกับกลยุทธ์ก่อนนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติต่อไป ผู้ศึกษาของเสนอผลการศึกษาดังนี้

1. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์

• ปัจจัยแวดล้อมภายนอก
จากผลการศึกษาพบว่า บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด นั้นคำนึงถึงปัจจัยภายนอกใน 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก คือความสามารถในการแข่งขันกับเทคโนโลยีในการผลิต โดยมองว่าแม้ว่าผลประกอบการของกิจการจะมีภาพรวมเป็นกำไรสุทธิโดยตลอด พร้อมทั้งมีฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมาก แต่ระบบการบริหารงานขององค์กรยังคงมีความซับซ้อนซึ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการซึ่งส่งผลกระทบไปยังความสามารถในการแข่งขันของกิจการด้วย เนื่องจากมีต้นทุนในการดำเนินการที่เพิ่มสูงขึ้นจากโครงสร้างการบริหารงานที่ซับซ้อน ดังนั้นเพื่อให้สามารถยังคงรักษาระดับการเติบโตของธุรกิจ โดยเฉพาะในภาวะที่ระบบเศรษฐกิจมีความผันผวนและมีแนวโน้มหดตัวมากขึ้น ประการที่สองที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ ได้แก่ เทคโนโลยีในการผลิต เพราะปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลติมิใช่เพียงแต่จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตระยะยาวขององค์กรหากยังช่วยขยายฐานสินค้าและนำไปสู่การขยายฐานผู้บริโภคอีกด้วย ดังนั้นองค์ที่ต้องการให้เกิดความเจริญเติบโตย่อมต้องมีกลยุทธ์ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้วย

• ปัจจัยภายในองค์กร

ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงขนาดองค์กร การเปลี่ยนแปลงบุคลากรหลัก และองค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้เนื่องจากทั้งสามปัจจัยดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ทั้งในส่วนของบุคคลกรและขนาดขององค์กร ในขณะที่องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนงานที่ได้วางไว้ในแต่ละปีเป็นอย่างดี แต่ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญได้แก่ การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานในรูปของเงินเดือนและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากในสภาพแวดล้อมที่กิจการตั้งอยู่นั้นเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเป็นรายวันจำนวนมากและไม่มีสวัสดิการอื่นๆ เหมือนที่กิจารให้กับพนักงานจึงทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับพนักงานในบริษัท และปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเมืองภายในองค์กร มีปัญหาไม่ลงรอยกันระหว่างผู้บริหารระดับกลางในฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางความคิดและแนวทางการปฏิบัติงานรวมทั้งไม่ยอมรับซึ่งกันและกันทำให้ ทำให้ระบบการบริหารภายในขาดประสิทธิภาพและการเชื่อมโยงการทำงานภายในองค์กร
ในส่วนประเด็นของขั้นตอนการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์นั้น ผู้ศึกษาได้พิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการว่ามีขั้นตอนอย่างไร สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในองค์กรอย่างไรบ้าง ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร มีชั้นตอนดังนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งที่เกิดจากปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กร หากกิจการไม่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงองค์กรดังกล่าวนั้นเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด อาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กร ดังนั้นองค์กรจึงได้มีการกำหนดขั้นตอนในการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรของกิจได้
ประเด็นที่เกี่ยวกับปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร เพราะเหตุใด ผลการศึกษาในประเด็นนี้พบว่า โครงสร้างองค์กรที่เป็นอยู่นั้นมิได้ทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเชิงกลยุทธ์แต่อย่างใดหากเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยมีทรัพยากรเป็นปัจจัยสนับสนุนอีกทางหนึ่งสืบเนื่องจากองค์กรได้จัดให้มีการเสริมสร้างความรู้ให้กับพนักงานผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานและหลักสูตรความรู้ทั่วไปเพิ่มเติมทำให้ทรัพยากรบุคคลของกิจการมีความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร เพราะที่ผ่านมากิจการไม่ได้สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีในด้านการบริหาร ไม่ได้สร้างให้เกิดความรู้การเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ
2. ศึกษาการวางแผนการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

สำหรับการพิจารณาการนำกลยุทธ์การจัดการไปปฏิบัตินั้นจำเป็นที่จะต้องมีการสื่อสารที่ได้และต้องมีการวางแผนในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้บริหารและพนักงานทุกฝ่ายที่เป็นผู้ปฏิบัติ โดยจะพิจารณาว่าการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปตาม ทฤษฎีการสื่อสาร หรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ส่งสาร คือ ผู้บริหารระดับสูงประกาศนโยบาย สาร คือ นโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์กร การไหลเวียนของสาร มีการส่งสารไปยังผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้กระจายไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา ช่องทางการส่งสาร ผ่านทาง Intranet การติดประกาศ เอกสาร ผู้รับสาร คือ ผู้บริหารและพนักงานทุกคน
ในการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ได้มีการจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับการจูงใจ และได้มีการวางแผนเพื่อการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง โดยผลการศึกษาพบว่า การจัดการความขัดแย้ง หรือการต้อต้านการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ช่องทางการสื่อสารภายใน เช่นการประชุมร่วมกัน ผู้บริหารทำหน้าที่ประสานให้แต่ละหน่วยงานมีความเข้าใจโดยโน้มน้าวและจูงใจให้มีความเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลง ร่วมถึงการสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงโดยให้พนักงานได้มีโอกาส ร่วมแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงงานของตนเอง ตามแผนพัฒนาขององค์การ เช่น การจัดทำกิจกรรม 5 ส Kaizen Qcc ฯลฯ
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร นั้นผลการศึกษาพบว่าบริษัทจะแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ภาวะผู้นำ เพื่อให้พนักงานทุกระดับมีภาวะผู้นำที่ดีในการปฏิบัติ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ในการปรับปรุงงานของตนเอง กลุ่มช่วยการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างบรรยากาศให้พนักงานทำงานมีการประสานงานให้มีความราบรื่น มีการทำงานเป็นทีม สื่อสารภายในให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

3. เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

จากการศึกษาพบว่าการสื่อสารจากล่างขึ้นบนและนำไปปฏิบัติ, การให้ผลตอบรับต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน ในส่วนของผู้นำ จะต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนปัญหาต่างๆที่เกิดจากการปฏิบัติงานของพนักงาน เนื่องจากพนักงานเป็นผู้ใกล้ชิดกับลูกค้าที่สุด และเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานจริง ดังนั้นพนักงานจะมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และต้องสื่อสารให้ผู้จัดการรับรู้ถึงปัญหาเหล่านั้น และหาแนวทางหรือวิธีการแก้ไขต่อไป นอกจากนี้ผู้จัดการยังต้องมีการเฝ้าติดตามการปฏิบัติงานของพนักงาน ให้ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำกลับไปยังพนักงานอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ในส่วนพนักงาน เองก็ต้องการสื่อสารว่าพวกเขาจะสามารถช่วยเหลือบริษัทได้อย่างไรเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร เพราะถ้าหากไม่มีการสื่อสารขึ้นไปในระดับบน ผู้จัดการก็จะไม่ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพนักงานเองก็จะไม่ทราบถึงแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ดังนั้นหากมีการสื่อสารที่รวดเร็วทั้ง 2 ฝ่าย ก็จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที ก่อนที่ปัญหานั้นจะลุกลามใหญ่โต จนมีผลเสียกระทบถึงภาพพจน์ขององค์กร

บทสรุป

บทสรุปของการศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศในภาวะเปลี่ยนแปลง : กรณีศึกษาการสื่อสารกลยุทธ์องค์กรมีดังนี้
ข้อสรุปที่ 1 ปัจจัยภายในองค์กร คือ ความล้มเหลวของกลยุทธ์องค์กรร่วมกับปัจจัยภายนอกด้านตลาดเป็นปัจจัยหลักของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร ขณะที่ปัจจัยภายนอกอื่นเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น ส่วนกลยุทธ์ชุดใหม่มีความสอดคล้องระหว่างภาวะที่องค์กรเป็นอยู่ในปัจจุบันกับภาวะที่คาดหวังในอนาคต ซึ่งการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์การมาจากการทบทวนและพิจารณาความเป็นตัวตนขององค์กรและภาวะที่องค์กรคาดหวังในอนาคตเพื่อกำหนดจุดยืนและทิศทางขององค์กรในระยะยาวอันเป็นกระบวนการของการจัดการเชิงกลยุทธ์ของผู้นำองค์กรคนใหม่ ซึ่งจุดยืนธุรกิจใหม่ คือ การเน้นตลาดที่องค์กรเลือกแล้วว่าตนมีความสามารถในการแข่งขันและทำกำไร ซึ่งการดำเนินกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกนั้นใช้กลยุทธ์ฟื้นฟูเพื่อสร้างเสถียรภาพให้องค์กรจากสถานะขาดทุนให้กลับสู่สภาวะปกติ จากนั้นจึงใช้กลยุทธ์เติบโตเพื่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการสร้างอัตราการเติบโตเชิงรายได้ และกำไรต่อไป
ข้อสรุปที่ 2 การวางแผนการสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรได้กำหนดกรอบการสื่อสารเฉพาะการสื่อสารภายในองค์กรเป็นการสื่อสารสาธารณะที่เน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าโดยการประชุมชี้แจงเป็นหลัก มีแบบแผนคล้ายการสื่อสารแบบสองจังหวะตามระดับการจัดการกลยุทธ์ในโครงสร้างองค์การซึ่งแบ่งการวางแผนออกเป็น 3 ระยะ คือ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์การและการสื่อสารเพื่อดำเนินกลยุทธ์เติบโตหลังวันประกาศใช้กลยุทธ์องค์การ
ข้อสรุปที่ 3 กิจกรรมการสื่อสารหลักเรื่องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์การ คือ การประชุมชี้แจงซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะตามระยะการวางแผนการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารในช่วงกลยุทธ์ฟื้นฟู และ การสื่อสารเรื่องกลยุทธ์เติบโตในวันประกาศกลยุทธ์องค์กร ซึ่งภาพรวมของการประเมินประสิทธิผลของการสื่อสารถือว่าสำเร็จในแง่ของการบรรลุเป้าหมายและขจัดปัญหาหรืออยู่ในระดับการผูกมัด กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเน้นการสื่อสารสาธารณะแบบซึ่งหน้าในรูปของการประชุมชี้แจงเป็นหลักโดยมีสื่ออื่นทั้งสื่อประกอบและสื่อสนับสนุนเป็นสื่อรอง กิจกรรมการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบ่งเป็น 2 ช่วง ตามช่วงเวลาของการวางแผนการสื่อสาร

ข้อเสนอแนะ

ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะแก่ผู้ที่จะนำการศึกษานี้ไปใช้ประโยชน์หรือขยายการศึกษาต่อไปในอนาคต ดังนี้
1. การศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศจะต้องบูรณาการวิธีการศึกษาเข้าด้วยกัน เนื่องจากเป็นการศึกษาองค์กรภายใต้พลวัตของกระแสโลกาภิวัฒน์ และวางแผนในการเข้าถึงข้อมูลอย่างละเอียด รอบคอบ และแยบยล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ศึกษาไม่ใช่ “คนใน” เพราะปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์การและการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กรนั้นเกี่ยวข้องกับบุคคลผู้มีส่วนได้เสียและข้อมูลปกปิดขององค์กร
2. การศึกษาเรื่องการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะเกี่ยวข้องกับองค์กรในเครือที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ดังนั้นการเก็บข้อมูลควรขยายไปถึงภูมิหลังของแต่ละประเทศเพื่อความเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร เช่น โครงสร้าง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการวิเคราะห์ลักษณะเหมาะรวม (stereo-type) ของคนชาติต่าง ๆ ที่แตกต่างกันในส่วนของรายละเอียด
3. การที่การศึกษาครั้งนี้พบว่าวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจซึ่งพัฒนามาจากการกระจายอำนาจและได้พัฒนาไปสู่ภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะภาวะผู้นำช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งเป็นภาวะผู้นำที่จะเป็นต่อความสำเร็จของการสื่อสารกลยุทธ์องค์กร จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในการขยายการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจในแง่มุมต่าง ๆ ต่อไปอย่างกว้างขวางเพื่อสร้างทฤษฏีที่นำไปสนับสนุนการจัดการและการสื่อสารภายในบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศภายใต้ภาวะเปลี่ยนแปลง
4. การศึกษานี้จะสมบูรณ์มากขึ้นหากสามารถผนวกการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณเข้าไว้ด้วยกันเพื่อทำให้การอธิบายปรากฏการณ์ครบถ้วน ถูกต้องและหนักแน่นในการนำข้อค้นพบไปสู่ข้อสรุปทั่วไปได้ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพช่วยทำให้เข้าใจตัวแปรที่พัฒนาไปตามสถานการณ์ของสังคมและบริบทโดยรอบขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณจะทำให้ทราบความสัมพันธ์ของตัวแปรเพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องเชิงสาเหตุและผลกระทบ





















บรรณานุกรม

John L. Thompson, Understanding Corporate Strategy (London: Thomson Learning, 2001), p. 14.
Edgar H. Schein, The Corporate Culture Survival Guide: Sense and Nonsense about Cultural Change (California: Jossey-Bass Inc., 1999), pp. 15-20.
J. Hayes and P. Hyde, Managing the Merger, A Change Mangement Simulation (Novi, Michigan: Organisation Learning Tools, 1998), quoted in John Hayes, The Theory and Practice of Change Management (Wiltshire: Palgrave, 2002), pp. 54-55.

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Lead Assessment and Consultant Co,LTD
ให้คำปรึกษา/ความรู้/แนะนำ ปรับปรุงวิธีคิดแก้ไขในงาน ณ.สถานที่ปฏิบัติหน้างานจริง เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่วัดได้ มากกว่าที่จะให้ Concept การให้ความรู้เพียงอบรมในห้องเรียนเท่านั้น ซึ่งการทำงานของทีมที่ปรึกษาจะมีบทบาทเป็นพื้เลี้ยงในการให้ความรู้ความเข้าใจ ในวิธีคิดปรับปรุงงานเพื่อช่วยเหลือให้หัวหน้างานและพนักงานสามารถในการทำงานร่วมกันได้อย่างแท้จริงบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน เนื่องจาก การเข้าไปในพื้นที่ปฏิบัติจริงทำให้เห็นสภาพการทำงานจริงของพนักงาน วิเคราะห์ค้นหาสาเหตุ ได้ ค้นพบจาก 3 จริง ของจริง เหตุการณ์จริง สถานที่จริง นำทีมโดย อาจารย์รัตนา กลั่นแก้ว ที่เข้าใจความต้องการของพนักงาน และความคาดหวังของผู้บริหาร ส่งผลให้เกิด Win win Strategy...หากท่านพบสภาพปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น
ท่านสามารถจะติดต่อได้ที่ email. lead_consultant @hotmail.com หรือ โทร 081 825 8472

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

BSC&KPI จะประสบความสำเร็จได้ต้องมี Self- regulation อย่างแรงของผู้นำเชิงกลยุทธ เป็นผู้นำธรรมดาไม่เพียงพอ

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Performance ระดับบุคคล

การประเมินผลระดับบุคคลปัจจุบันหลายองค์กรคงจะพบกับปัญหา ที่เป็นการประเมินผลงานจากความรู้สึกของระดับหัวหน้างานเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้พนักงานมีความท้อแท้ เบี่อหน่ายกับระบบการประเมินที่ไม่มีการชี้วัดผลงานหลัก ซึ่งไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่เป็นตัวเลขก่อนการทำงาน ทำให้พนักงานไร้ทิศทาง หัวข้อการประเมินบางแห่งยังใช้แบบฟอร์มที่ ลอกกันมา เป็น 10 ๆๆๆ ปี ก็ยังเอามาใช้กัน ซึ่งในการดำเนินธุรกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย การประเมินผลงาน ต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดวัฒนธรรมองค์การใครมีผลงานที่ดีย่อมได้รับผลตอบกลับที่ดีด้วย ทำให้คนในองค์กร รู้สึกว่าเป็นธรรม ยุติธรรม และเป็นการป้องกันไม่ให้หัวหน้างานมีความลำเอียง เล่นพรรคพวก ใครใกล้นายจะได้ดี อะไร?เหล่านี้เป็นต้น

Advance BSC&KPI

Advance BSC&KPI นำไปใช้ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแจ่มแจ้ง

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Why-Why Analysis

การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอย่างเป็นระบบ
ด้วยเทคนิค Why-Why Analysis

หลักการและเหตุผลตถุประสงค์
หลักการของการวิเคราะห์ปัญหา โดยตั้งคำถามเพื่อค้นหาสาเหตุว่า ทำไม ทำไม หลาย ๆ ครั้ง ไม่เพียงที่จะช่วยให้ทราบถึงรากที่แท้จริงของปัญหาแล้ว ยังช่วยให้ผู้วิเคราะห์ปัญหาเกิดการเรียนรู้และมีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังวิเคราะห์มากขึ้น ซึ่งการวิเคราะห์โดยใช้หลักการทำไม ทำไม หรือ การวิเคราะห์ Why-Why เพื่อให้สามารถเข้าถึงรากของปัญหาได้อย่างแท้จริง ถือเป็นทักษะที่ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้แก้ปัญหาจำเป็นต้องมี เพื่อเป็นความรู้และทักษะประจำตัว ช่วยให้เกิดการคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อองค์กร โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาในระดับใด หรือว่าเกิดขึ้นในองค์กรประเภทใด ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรมหรือองค์กรการบริการก็ตาม


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบหลักการใช้ Why –Why ได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อให้สามารถกำหนดประเด็นของปัญหาจากต้นตอของปัญหา
3. เพื่อให้ฝึกฝนทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีขั้นตอนและอย่างเป็นระบบ
4. เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ได้อย่างเหมาะสม
5. เพื่อให้ทราบการประยุกต์ใช้หลักการ Why –Why กับการแก้ไขปัญหาของการทำงานจริง
เนิ้อหาหลักสูตร
• การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยหลักการและเทคนิคของ why-why
• หลักการของการวิเคราะห์ Why-Why
• ขั้นตอนที่สำคัญ ๆ ของการนำ why-why ไปประยุกต์ใช้
• เทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ why-why
• การมองโลกเชิงบวกและความคิดสร้างสรรค์กับ why-why
• ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ด้วยหลักการของ why-whyจากปัญหาจริ ง
• การนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วย why-why ไปใช้งานและปรับปรุงงาน
• กิจกรรมกลุ่มและนำเสนอผลงานของกลุ่ม

จำนวนผู้เข้าอบรมอบรม
50 คน / รุ่น
วิธีการฝึกอบรม
บรรยาย กิจกรรมกลุ่ม และนำเสนอความคิดเห็นของกลุ่ม

วิทยากร รัตนา กลั่นแก้ว
สถานที่อบรม

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติวิทยากร อ.รัตนา กลั่นแก้ว

ประวัติวิทยากร

ชื่อ-นามสกุล : ดร.รัตนา กลั่นแก้ว lead_consultant@hotmail.com
Mobile 085 152 9629 http://ratana-k.blogspot.com/
ปัจจุบัน
• ที่ปรึกษา ฝ่ายวินิจฉัย/ให้คำปรึกษาสถานประกอบการ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)
• คณะอนุกรรมการพัฒนาองค์กร สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย – ญี่ปุ่น)
• ที่ปรึกษา 5S(ให้มีชีวิตชีวา) QCC TPM TQM TQA KPI
• วิทยากรอิสระ และที่ปรึกษาด้านพัฒนาองค์การ บริหารทรัพยากรบุคคล
• วิทยากร :
- สถาบันส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
- สถาบันไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิคส์
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมฯ เขต 10
- สถาบัน ลีด อะเซ็สเมนท์ , สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
วุฒิการศึกษาสูงสุด
• ปริญญาเอก คณะการจัดการอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (MBA)
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสบการณ์ทำงาน
• รองผู้จัดการทั่วไป ด้านบริหารงานคุณภาพ /กลยุทธ์ BSC&KPIs สำนักบริหารนโยบายธุรกิจ
บริษัท ซี พี เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)
• ผู้เชี่ยวชาญ 5 ส ,QCC ให้บริษัท CP 7-11 ได้รับรางวัลระดับประเทศ จาก สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี
(ไทย-ญี่ปุ่น) และ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ทั้งใน ประเทศ /ต่างประเทศ)
• Facilititator QCC ในการแข่งขันระดับสากล สิงค์โปร์ เกาหลีใต้ อินโดนิเซีย (บาหลี)
นำทีมกลุ่ม มดคันไฟ บริษัท บางกอกแปซิฟิค จำกัด ร่วมโชว์ผลงาน ณ เมือง ไฮเดอร์ราบัด ประเทศอินเดีย 2010
• ที่ปรึกษาการจัดทำโครงการ BSC&KPI ระดับองค์กร หน่วยงาน บุคคล ให้กับบริษัทต่าง ๆ
• ที่ปรึกษาโครงการโรงงานสอนโรงงานเพื่อพัฒนาบริษัทฯที่เป็นคู่ค้ากับกลุ่มบริษัท สมบูรณ์กรุ๊ป ร่วมกับกรมส่งเสริม
(กลุ่มยานยนต์)
• ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงงาน / QMR
บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)
• ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์และฝึกอบรม ( HRD & HRM )
บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด
• ผู้จัดการส่วนกิจการพนักงาน บริษัท สยามกลการ จำกัด

ประสบการณ์ด้านการวิชาการ/การสอน
• อาจารย์พิเศษ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชาการพัฒนาและฝึกอบรม
• เขียนบทความด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้กับ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น ,สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิค

การศึกษาดูงาน /รางวัลคุณภาพ :

- การแข่งขัน IC QCC Asian 2010 ที่ ประเทศอินเดีย ( ไฮเดอร์ราบัด )
- Project consultant TPM-Lean Production 2010
- Expo 2010 in shanghai 2010
- Education christchurth,Queen town ,Newzealand 2009
- Study Mission TPM in Japan 2008
- Education Auckland University, Newzealand 2008
- Education Beijing University, China .2008
- Faciltator Awrad QCC TPA 2006
- Education Research, Monash University, Melbourn Australia.2006
- Education Research, Swinburn University, Melbourn Australia 2006.
- Vocational Education & Technical Institute, Melbourn Australia.2006
- การแข่งขัน IC QCC Asian 2006 ที่ ประเทศอินโดนิเซีย ( บาหลี)
- การแข่งขัน IC QCC Asian 2005 ที่ประเทศเกาหลีใต้
- การแข่งขัน IC QCC Asian 2004 ที่ประเทศไทย
- การแข่งขัน IE IQC Asian 2003 ที่ประเทศสิงคโปร์
- การแข่งขัน IE IQC Asian 2002 ที่ประเทศสิงคโปร์
- กรรมการตัดสินการประกวด 16th QCC Contest 2002 (Thai Kashiwakai Club)
- Lead Auditor ( RW TUV ) 2001
- Human Resource in Asia ( Michigan University ( ประเทศฮ่องกง ) 1995

ที่ปรึกษาและฝึกอบรมหลักสูตร:
. การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม ด้วย KPI
• การลดต้นทุน และค่าใช้จ่ายที่ทุกคนมีส่วนร่วม
• การลดความสูญเสีย สูญเปล่า 7 ประการ
• การวางแผน และควบคุมการผลิต
• การวางแผนกลยุทธ์ / การวางแผน และการติดตามงาน / การวางแผนงบประมาณ
• เทคนิคการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
• การมอบหมาย สั่งงาน สอนงานและติดตามงาน
• สร้างแรงจูงใจในการทำงาน
• เทคนิคการสอนงาน
• เทคนิคการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ
• สร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบ
• ความคิดเชิงสร้างสรรค์
• กำจัดความคิดเชิงลบ
• การสร้างทีมงานทีมีประสิทธิภาพ, การสร้างภาวะผู้นำ
• การพัฒนาทักษะผู้บังคับบัญชา
• การสื่อสารเพื่อการนำเสนอ/การประชุม
• Cross functional Alignment (การประสานงานอย่างมีประสิทธิผล)
• เทคนิคการปรับปรุงวิธีการทำงาน
• Why-Why Analysis
• การบริหารเวลา เพื่อเพิ่มผลิตภาพองค์กร
• การแก้ปัญหาเพื่อการตัดสินใจ
• การแก้ไขปัญหาหน้างานด้วย 5 G และ 5 Why
• การบริหารงานด้วย PDCA
• จิตสำนึกด้านบริหารคุณภาพ ISO 9000 :2000
• จิตสำนึกด้านความปลอดภัย
• การบริหารความปลอดภัยในโรงงาน
• กิจกรรม 5 ส. เพื่อการเพิ่มผลผลิต
• QCC (Quality Control Circle)
• ไคเซน ( KAIZEN ) Visual Control
• ข้อเสนอแนะ ( Suggestion)
• Total Quality Management (TQM)
• Total Productive Maintenance (TPM)
• การประเมินองค์กรตามเกณฑ์ TQA
• Balanced Scorecard & KPI
• KPI เพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล
• Human Resources Management
• Competency
• การประเมินผลการปฏิบัติงาน
• การวางแผนการพัฒนาบุคลากร
• การบริหารบุคลากรยุคใหม่
• Train the Trainer
ที่ปรึกษาและฝึกอบรม กับบริษัทต่างๆ
คณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากร สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี่ ไทย –ญี่ปุ่น (2545- ปัจจุบัน )
ที่ปรึกษาวางระบบบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท ซีแมท คอร์ปอเรชั่น จำกัด
บริษัท บางกอกแปซิฟิคสตีล จำกัด บริษัท ไทโยสปริงค์ จำกัด บริษัท CI Industrial จำกัด
ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม SME
> ที่ปรึกษา ด้านการพัฒนาองค์กร บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน)
> ที่ปรึกษา ด้านพัฒนาองค์กร และ HRM&HRD บริษัท รอยัลแคน อินดัสทรีส์ จำกัด
> ที่ปรึกษา ด้านพัฒนาองค์กร เพื่อเพิ่มผลผลิต บริษัท เอ็ฟ & เอ็น ยูไนเต็ด จำกัด

ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์การ ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านการวางแผนระบบงาน
บริหารทรัพยากรบุคคล ให้กับภาครัฐและเอกชน
กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน เหล็ก
• บริษัท ไทยซัมมิท ออโตพาร์ส อินดัสตรี้ จำกัด
• บริษัท โตโยต้า มหานคร จำกัด
• บริษัท มาห์เล สยาม ฟิลเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด
• บริษัท สยามยาชิโยะ จำกัด
• บริษัท ฮิตาชิ คอนสตรัคชัน แมชีเนอรี (ไทยแลนด์) จำกัด
• บริษัท สมบูรณ์กรุ๊ป
• บ.ฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์) จำกัด
• บริษัท อูซูอิ อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น(ไทยแลนด์)
• บริษัท ยูเรกา ดีไซน์ จำกัด
• บริษัท ไทยมุ้ย เทรดดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด
• บริษัท เซาท์เทอร์นมอเตอร์ (1995) จำกัด
• TOPY FASTENERS (THAILAND) LTD.
• บริษัท บางกอกมอเตอร์เวอคส์ จำกัด
• บริษัท ไทยซูซูกิ มอเตอร์ จำกัด
• บริษัท ไทยยูเนี่ยนสกรูน๊อต จำกัด
• บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด
• บริษัท เคแอลเค อินดัสตรี้ จำกัด
• บริษัท ชิงเดนเคน (ประเทศไทย ) จำกัด
• บริษัท อีซูซุเอ็นยิน แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
• บริษัท จึงกงเฮงอีซูซุ จำกัด
• บริษัท สยามคายาบา จำกัด (KYB THAILAND CO.,LTD)
• บริษัท บางกอกแปซิฟิกสตีล จำกัด
• บริษัท สามชัย สตีล อินดัสตรี้ จำกัด มหาชน
• บริษัท กลุธร เคอร์บี้ จำกัด
• บริษัท สยามเม็คทัล จำกัด
• บริษัท แอมพาส อินดัสทรี จำกัด
• บริษัท ซูมิโตโม ไวริ่ง ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด

กลุ่มไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิคส์
• บ. โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี(ประเทศไทย) จำกัด
• บริษัท เอปสัน โตโยคอม (ไทยแลนด์) จำกัด
• บริษัท ไทยทราโฟ จำกัด
• บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด
• บริษัท เอ็ม.ที. พิคเจอร์ ดิสเพลย์ จำกัด
• บริษัท เซอร์คิต อินดัสตรี้ จำกัด
• บริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
• บริษัท มัตสุชิตะ อิเลคทริคเวิล ประเทศไทย จำกัด
• MITSUBISHI ELEVATOR ASIA CO., LTD
• บริษัท ซาตาเก้ จำกัด
• บริษัท อาซีฟา จำกัด
• บริษัท ชาร์ป.(ประเทศไทย) จำกัด
• บริษัท ไต้หวันไลตันอิเลคทริค (ประเทศไทย) จำกัด
• SEIKO P&C (THAILAND) CO., LTD
• บริษัท มึซิกิ (ประเทศ) จำกัด
• บริษัท ฟาบิเนส จำกัด
• บริษัท สยามไดกิ้น เซลส์ จำกัด
• บริษัท คาสิโอ (ประเทศไทย) จำกัด
• บริษัท นิเดท อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Nidec)
• บริษัท มึซึกิ จำกัด
• บริษัท นิเซอิ เทรดดิ้ง จำกัด
• บริษัท เจ วี ซี (ประเทศไทย) จำกัด
• บริษัท พานาโซนิค ประเทศไทย จำกัด
• บริษัท ไดซิน (โคราช ) จำกัด
• บริษัท ซิงเกล พอร์ย จำกัด
• บริษัท ไดกิ้น เซลส์ จำกัด (แอร์)
• บริษัท สตาร์ อีเล็กโทรนิคส์ จำกัด
• บริษัท ยูไนเต็ดเทคโนยี่ จำกัด
• บริษัท ซี.ไอ.กรุ๊ป จำกัด (มหาชน

กลุ่มโทรคมนาคม / ธนาคาร
• บริษัท วิบูลย์ อุตสาหกรรม จำกัด
• กสท (QCC)
• ToT (QCC)
• ธนาคารกรุงไทย
กลุ่มอุตสาหกรรมไม้และพลาสติก
• บริษัท ตะวันออกโพลิเมอร์ จำกัด
• บริษัท สยาม แท็ค จำกัด
• บริษัท คิงแพ็ค จำกัด
• บริษัท ละแมพาราวู้ด จำกัด
• บริษัท ไทยมาสเตอร์แพ็ค จำกัด
• บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
• บริษัท อิมโก จำกัด
• บริษัท MPO จำกัด
กลุ่มบริการและหน่วยงานภาครัฐ
• กรมชลประทาน
• กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
• กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่
• สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
• กระทรวงคมนาคม
• สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์
• มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
• มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
• คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
• วิทยาลัยมหาดไทย
• บริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด
• บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด
• โรงเรียนดนตรีสยามกลการ
• บริษัท การบินไทย จำกัด
• การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
• T K park อุทยานแห่งการเรียนรู้
• สถาบันส่งเสริมความรู้เพื่อสังคม ( ส ค ส )
• สำนักปลัดกระทรวงแรงงาน

กลุ่มขนส่ง/น้ำมัน
• บริษัท อัลมันซูรี จำกัด
• บริษัท ขนส่ง จำกัด
• บริษัท ซาคาวะ จำกัด

กลุ่มอาหารและยา/อุปกรณ์
• บริษัท F&N United จำกัด
• บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด
• บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด
• บริษัท ไทยฮอสพิทอล จำกัด


กลุ่มเคมี
• บริษัท ต้ากงเคมีคอลอินดัสตรี้ จำกัด
• บริษัท สี ที โอ เอ (ประเทศไทย) จำกัด
• บริษัท ไดนิปปอนหมึกพิมพ์ และเคมี (ไทย) จำกัด
• Technopia (Thailand)Co. , Ltd.
• บริษัท พาต้าเคมีภัณฑ์ จำกัด
• บริษัท อาซาฮี เคมีภัณฑ์ จำกัด
• TOYO ING Co., Ltd
• TOZEN

กลุ่มสิ่งทอ
• บริษัท ทองไทยการทอ จำกัด
• บริษัท จงสถิตย์ จำกัด
• บริษัท แฟงค์บราเดอร์ จำกัด

กลุ่มอาหาร

• Food star co., LTD.
• บริษัท โชคชัยพืชผล จำกัด
• บริษัท โชคชัยคลังสินค้า จำกัด
• บริษัท ชุมพรอุตสาหรรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)
• บริษัท สหพัฒนพิบูลย์ จำกัด (มาม่า ) ชลบุรี / ลำพูน
• Corn Products International co., LTD

กลุ่มก่อสร้าง /เฟอร์นิเจอร์
• บริษัท ธนพัฒน์ จำกัด
• บริษัท ACME จำกัด
• บริษัท K Tech Construction จำกัด
• บริษัท สักทอง จำกัด

กลุ่มโรงพยาบาล
• โรงพยาบาล ธัญญรักษ์
• โรงพยาบาล ศิริราช
• โรงพยาบาลรามา
• โรงพยาบาล นนทเวช

กลุ่มอื่น ๆ
• กลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ CPF
• บริษัท ไพร์มบ๊อกซ์ เอ็มเอฟจี จำกัด
• บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด
• บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ยูนิชาร์ม จำกัด
• บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
• บริษัท เฮคซ่า คัลลอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด
• บริษัท ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ศานติบรรจุภัณฑ์ จำกัด
• บริษัทเงินทุนลักทรัพย์ นวธนกิจ จำกัด ( มหาชน)
• บริษัท กล่องกระดาษกรุงเทพอุตสาหกรรม จำกัด
• NTU ทางไกล
• บริษัท พิจิตรอุตสาหกรรม จำกัด
• บริษัท ไอดีพี แพ็คเกจจิงค์ จำกัด
• บริษัท ไพรบ๊อกซ์ เอ็ม พี จี จำกัด

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

องค์กรสร้างบรรยากาศให้พนักงานมีชีวิตชีวา

ต้องเห็นคุณค่าของบุคลากร มีชีวิตจิตใจ ต้องใส่ใจในกระบวนการทำงานที่สภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ เช่น กลิ่น
เหม็นสี นำมัน พนักงานต้องทนสูดดมเข้าไปทุกวัน คนที่ทนได้ก็ทนไป แต่ที่ทนไม่ได้ก็ลาออกไป หากองค์กร ไม่ใส่ใจต่อสิ่งเหล่านี้ แม้แต่พนักงานผู้ซึ่งทำประโยชน์ให้กับบริษัทคือผู้ที่ผลิตสินค้าให้ลูกค้า ยุคนี้ก็ถือว่าขาดในเรื่องการทำ CSR องค์กรของท่านก็จะตกยุคนะ? คนในองค์กรก็ขาดชีวิตชีวาแน่นอน เพราะไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ถ้า องค์กรให้ความสำคัญคนจริง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลรักษาบุคลากร ก็ต้องส่งเสริมพลักดัน ให้เกิดทำประโยชน์ต่อสังคมภายในบริษัท ด้วยการ ดูแลใส่ใจ เข้าใจ
ในสภาพแวดล้อม แสง สี แสง บรรยากาศต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพพนักงานกันเถอนะ


ภายในองค์กรของท่านละ? เค้ามี CSR หรือยัง ถ้ายัง ก็ส่งข้อความเข้ามาบอกเล่ากันนะ

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผู้หญิงกับ EQ

ผู้หญิงกับความฉลาดทางอารมณ์ ในสภาพปัจจุบัน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อภาวะอารมณ์ ได้ตลอดเวลา ซึ่งผู้หญิงเราทุกวันนี้ ต้องพบกับสภาพดังกล่าวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภัยอันตรายรอบด้าน หากผู้หญิงได้ฝึกตนเองให้มีความฉลาดทางอารมณ์ ก็ย่อมที่จะเราเท่าทันต่อภัยอันตรายรอบด้านได้ ทำให้มีการเตรียมความพร้อมในแง่คิด ส่งเสริมความคิดของตนเอง ให้คิดเชิงป้องกันได้ดีกว่า ผู้หญิงที่ไม่มีความฉลาดทางอารมณ์อย่างแน่นอน....

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552